วันพุธที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

ท่องเที่ยว มหาปราสาท นครวัฒ กำพุชา

Drsamaihemman.blogspot.com DHOUSEGOOD1.blogspot.com Information about Big More Company and the joint investment of Big More Company. Business expansion of Big Mall Company Limited. Executive summary of Big Mall Company Limited. The allocation plan of the company's budget estate in the project of Big Mall Company Limited. The possibility of Big Mall's business, Senior Complex Center, Khon Kaen. Big Mall executives, Big Mall executives, and Big Mall staff will be in this area. They can be searched both domestically and internationally as follows: Information will be in English and Thai, there will be a bit of home enhancement.

มหึมา มหานคร นครวัฒ มหาปราสาท ท่องเที่ยว มหานคร

Drsamaihemman.blogspot.com DHOUSEGOOD1.blogspot.com Information about Big More Company and the joint investment of Big More Company. Business expansion of Big Mall Company Limited. Executive summary of Big Mall Company Limited. The allocation plan of the company's budget estate in the project of Big Mall Company Limited. The possibility of Big Mall's business, Senior Complex Center, Khon Kaen. Big Mall executives, Big Mall executives, and Big Mall staff will be in this area. They can be searched both domestically and internationally as follows: Information will be in English and Thai, there will be a bit of home enhancement.

วันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

วันพุธที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

ข่าวสาร ท่องเที่ยว นำเที่ยวพระธาตุกู่ทอง ที่อยู่ หมู่ที่ 1 เปือยน้อย, ขอนแก่น

null ประเภท สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และอนุสาวรีย์ ข้อมูลติดต่อ สิ่งที่ควรรู้ ข้อมูล ซ่อน เวลาทำการ ที่อยู่ หมู่ที่ 1 เปือยน้อย, ขอนแก่น ซ่อน ถึงแม้จะเป็นปราสาทหินที่มีขนาดไม่ใหญ่เท่ากับปราสาทหินพิมายหรืออีกหลายแห่งที่พบทางอีสานตอนใต้แต่ก็นับเป็นปราสาทเขมรที่สมบูรณ์มากแห่งหนึ่ง ปราสาทเปือยน้อย หรือ ที่ชาวบ้านเรียกว่า พระธาตุกู่ทอง หากจะเอ่ยถึงปราสาทขอมโบราณอันเลืองชื่อ เชื่อว่าหลายคนคงนึกถึงจังหวัดในแถบสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ หรือนครราชสีมา เป็นลำดับแรก เนื่องด้วยจังหวัดเหล่านี้ต่างมีชื่อในเรื่องวัฒนธรรมโบราณของเขมร แต่จะมีใครรู้บ้างว่าในจังหวัดของแก่นก็มีปราสาทขอมในยุคโบราณที่น่าศึกษาค้นคว้าและเข้าไปเยี่ยมชมประสาทด้วยเช่นกัน ปราสาทที่เอ่ยถึงนั้นคือ " ปราสาทเปือยน้อย " ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 ตำบลเปือยน้อย อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น มีสภาพสมบูรณ์ที่สุดในแถบอิสานตอนบนเท่าที่เคยค้นพบมา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 16-17 เพื่อใช้เป็นศาสนสถานประกอบพิธีกรรม ลักษณะด้านสถาปัตยกรรมประกอบด้วยกลุ่มอาคารโบราณ 4 หลัง ก่อด้วยศิลาแลง หินทรายและอิฐ โดยมีกำแพงแก้วเป็นรูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้าล้อมรอบอีกชั้น ซึ่งภายในกำแพงแก้วยังมีบรรณาลัยหรือวิหารทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ สันนิษฐานกันว่าน่าจะเป็นที่เก็บพระคัมภีร์ แต่อีกกระแสกลับบอกว่าปราสาทเปือยน้อยนั้นเป็นศิลปะผสมระหว่างเขมรบาปวนและแบบนครวัดรวมกัน ผังการก่อสร้างหมายถึงเขาพระสุเมรุอันเป็นแกนกลางของจักรวาล หมายถึงที่สิ่งสถิตย์ของเหล่าบรรดาทวยเทพทั้งหลาย หน้าบรรณขององค์ปรางประธานสลักเป็นรูปนาคราชมีลวดลายสวยงามสะดุดตา ทับหลังสลักเป็นรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ซึ่งยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์เช่นเดียวกับตัวปราสาทคาดการณ์ว่าน่าจะมีอายุประมาณ 800 ปี สำหรับปราสาทเปือยน้อย หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า " พระธาตุกู่ทอง " เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป ซึ่งชาวอำเภอเปือยน้อยจะจัดงานเทศกาลเฉลิมฉลองปราสาททุกปีในช่วงวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี โดยจะมีพิธีกรรมทางศาสนา ประเพณีผูกเสี่ยวอันขึ้นชื่อของชาวขอนแก่น และการแสดงเชิงประวัติศาสตร์ แสงสีเสียงอย่างยิ่งใหญ่ตระการตาตลอดช่วงเทศกาลBlog ท่องเที่ยวจังหวัดขอนแก่นเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบยั่งยืนผ่านเส้นทางผ้า ที่กลุ่มหัตถกรรมคุ้มสุขโขสัมผัสวิถีชีวิตพื้นบ้านผ่านศิลปะแห่งความศรัทธา "ฮูปแต้ม สิมอีสาน"ร้านขนม & Cafe ใน จ.ขอนแก่นที่เห็นแล้วต้องยอมอ้วน

ข่าว ส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิญเที่ยววัด หลวงปู่ผาง เมืองมัญจาคีรี ของแก่น

หลวงพ่อผางท่านมีนามเดิมว่า ผาง ครองยุติ เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2445 ณ บ้านกุดกะเสียน ตำบลเขื่องใน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรของนายทัน และ นางบัพพา ครองยุติ ในช่วงชีวิตเยาว์วัย หลวงปู่ท่านได้เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ท่านมีอุปนิสัยรักความเป็นธรรม มีความซื่อสัตย์ มีความเมตตากรุณาต่อสัตว์ และ ชอบทำประโยชน์ให้กับส่วนรวมเสมอ [1] ต่อมาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในมหานิกาย เมื่อปี พ.ศ. 2465 ณ วัดเขื่องกลาง บ้านเขื่องใน ตำบลเขื่องใน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระครูดวน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ดี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านศึกษาพระธรรมวินัย มีความรู้พอสมควร ต่อมาจึงได้ลาสิกขาจากสมณเพศ และได้มีครอบครัวตามประเพณีอยู่หลายปี ภรรยาของท่านเป็นคนบ้านแดงหม้อ ต. แดงหม้อ อ. เขื่องใน จ. อุบลราชธานี แต่ไม่มีบุตร[2] ในชีวิตฆราวาสของท่าน ท่านเป็นคนที่มีความขยัน มีความใส่ใจในงาน ประกอบอาชีพทำไร่ไถนา บางครั้งก็เป็นพ่อค้าเรือใหญ่บรรทุกข้าวจากแม่น้ำมูลไปขายตามลำน้ำชีน้อย บางครั้งก็เป็นพ่อค้าวัว นำวัวไปขายที่เขมรต่ำ หลวงปู่ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการสร้างฐานะให้แก่ครอบครัว[3] ต่อมาเมื่ออายุได้ 43 ปี ท่านก็ได้ตัดสินใจออกบวชครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2488 เป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกาย พร้อมกับภรรยา ภรรยาบวชเป็นแม่ชี ส่วนเงินที่เหลือ ท่านได้มอบให้กับบุตรบุญธรรม ที่วัดคูขาด บ้านศรีสุข ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี มีพระครูศรีสุตาภรณ์ (สี พุทธสาโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ ส่วนพระกรรมวาจาจารย์และพระอนุสาวนาจารย์ไม่ปรากฏ หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเดิม แต่ท่านได้เข้าศึกษาอบรมพระกรรมฐาน อยู่ในสำนักวัดป่าวารินชำราบ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี กับพระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม) และหลวงปู่มหาปิ่น ปญฺญาพโล และหลังจากปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์สิงห์แล้ว ท่านก็เดินธุดงค์ไปฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้พอสมควร ก็ท่องเที่ยววิเวกไปแต่ผู้เดียวในป่าเขา จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นถิ่นทุรกันดารเป็นเวลาหลายปี ต่อมาท่านได้เดินธุดงค์ไปจำพรรษาอยู่หลายวัด และในระหว่างนั้น ท่านได้สร้างวัดแห่งใหม่ขึ้นมาคือ วัดบ้านแจ้ง ในปี พ.ศ. 2505 และได้เป็นประธานในการสร้างพระธาตุขามแก่น นโรดม ในปี พ.ศ. 2523 เพื่อเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์มีอายุได้ 200 ปี (พ.ศ. 2325 — พ.ศ. 2525) และท่านได้ร่วมทอดผ้ากฐินสามัคคีเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524[4] หลวงพ่อท่านได้เข้ารักษา(ตัว)เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 วัดที่ ท่านจำพรรษาคือวัดอุดมคงคาคีรีเขต (ดูน) ตำบลนางาม อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่นและได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2525 สิริรวมอายุได้ 81 ปี[5]

ข่าว ท้องถิ่น บทความทางวัฒนธรรมไทย อีสาน ประวัติความเป็นมา ประวัติการสร้างเมืองขอนแก่น เริ่มขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ในราว พ.ศ.2340

ประวัติความเป็นมา ประวัติการสร้างเมืองขอนแก่น เริ่มขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ในราว พ.ศ.2340 เพียเมืองแพน เชื้อสายเจ้าเมืองร้อยเอ็ดและสุวรรณภูมิ ได้พาผู้คนอพยพออกจากบ้านชีโหล่น(ในเขตอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบัน) มาตั้งบ้านที่บ้านดอนกระยอมเวลานั้นอยู่ในแขวงเมืองชนบถ(ชนบท) ปัจจุบันอยู่ที่อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น และได้แจ้งความประสงค์ไปยังเจ้าพระยานครราชสีมา ขอเป็นเจ้าเมือง เมื่อเป็นเจ้าเมืองแล้ว ก็ขอขึ้นกับเมืองนครราชสีมาจะรับอาสาทำราชการผูกส่วยตามประเพณี เจ้าพระยานครราชสีมาจึงกราบทูลพระกรุณาไปยังกรุงเทพฯ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าตั้งเพียเมืองแพน เป็น "พระนครศรีบริรักษ์" ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองโดยยกบ้านบึงบอน (บริเวณบึงแก่นนคร ทางด้านทิศตะวันตกที่ตั้งเมืองเก่า อำเภอเมืองขอนแก่น) ต่อมาในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 1 ในราว พ.ศ. 2352 เนื่องจากที่ตั้งเมืองขอนแก่นอยู่ใกล้ชิดกับเมืองชนบถ (ชนบท) ซึ่งขึ้นกับเมืองนครราชสีมา และมีการปักปันเขตเมืองกัน จึงได้ย้ายเมืองไปตั้งที่ที่บ้านดอนพันชาติ หรือดงพันชาติ (ในท้องที่บ้านโนนเมือง หมู่ที่ 15 ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ปัจจุบัน) ด้วยเหตุผลการปักปันเขตเมืองขอนแก่นกับเมืองกาฬสินธุ์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2398 ย้ายเมืองขอนแก่นไปตั้งที่บ้านโนนทอง ฟากบึงบอนทางทิศตะวันออก (บริเวณบ้านโนนทัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ปัจจุบัน) จนถึง พ.ศ. 2410 ย้ายเมืองอีกครั้งไปตั้งที่บ้านดอนบม บริเวณฝั่งตะวันออก (บริเวณบ้านดอนบม ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ปัจจุบัน) ด้วยเหตุผลทางด้านการคมนาคมสะดวกเนื่องจากต้องใช้แม่น้ำในการคมนาคมติดต่อ ซึ่งห่างจากจุดที่ตั้งปัจจุบันราว ๆ 8 กิโลเมตร จนกระทั่งปี พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าให้ พระเจ้าน้องนางเธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ขึ้นไปเป็นข้าหลวงต่างพระองค์ เนื่องจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เปลี่ยนแปลงระบบการปกครองหัวเมืองลาวใหม่ โดยเปลี่ยนบริเวณหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือเป็นหัวเมืองลาวพวน เมืองขอนแก่นไปขึ้นกับเมืองลาวพวน ตอนเสด็จผ่านเมืองขอนแก่น ได้ไปประทับแรมที่บ้านทุ่ม 1 คืน เพราะเส้นทางคมนาคมหรือทางม้า โค เกวียน แต่ก่อนจากนครราชสีมา ต้องผ่านมาเมืองชนบท ผ่านบ้านทุ่มไปยังหนองคาย ทรงเห็นว่าบ้านทุ่มทำเลดี มีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น ใกล้เส้นทางไปมาในสมัยนั้น จึงโปรดให้ย้ายเมืองขอนแก่นจากบ้านดอนบมไปตั้งที่บ้านทุ่ม (บริเวณบ้านทุ่ม ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ปัจจุบัน) ซึ่งห่างจากที่ตั้งปัจจุบัน 13 กม. และเปลี่ยนนามตำแหน่งเจ้าเมือง เป็นผู้ว่าราชการเมือง ต่อมาในปี พ.ศ. 2436 ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในแผ่นดินกรณีพิพากไทยกับฝรั่งเศส เป็นเหตุให้ไทยต้องเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แบ่งการปกครองออกเป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้านสังกัดกระทรวงมหาดไทย จังหวัดขอนแก่นได้โอนไปขึ้นกับ มณฑลอุดร ต่อมาปี พ.ศ. 2442 เนื่องจากบ้านทุ่มในฤดูแล้งกันดารน้ำ ไม่เหมาะแก่การตั้งเมืองใหญ่ จึงโปรดย้ายเมืองจากบ้านทุ่ม กลับไปตั้งที่บ้านเมืองเก่า บริเวณบึงบอนด้านตอนเหนือ (บ้านเมืองเก่า ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ปัจจุบัน) ต่อมาปี พ.ศ. 2447 ได้เปลี่ยนนามตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองขอนแก่นเป็น ข้าหลวงประจำบริเวณลำชี ตลอดจนปี พ.ศ. 2450 โปรดเกล้าฯให้ย้ายศาลากลางมาตั้งที่บ้านพระลับ (บริเวณที่เป็นที่ทำการเทศบาลนครขอนแก่น ปัจจุบัน) และโปรดให้เปลี่ยนนามตำแหน่งข้าหลวงประจำบริเวณลำชี มาเป็นผู้ว่าราชการเมืองตามเดิม ต่อมาปี พ.ศ.2459 โปรดเกล้าให้เปลี่ยนคำว่าเมือง มาเป็น จังหวัดและให้เรียนเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2476 เมื่อการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้ว ทางราชการได้ประกาศให้เปลี่ยนนามตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นข้าหลวงประจำจังหวัดอีกครั้ง ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย และในตอนหลังปี พ.ศ. 2495 ทางราชการ ให้เปลี่ยนนามตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัด มาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอีกครั้ง และยังคงใช้ตำแหน่งนี้จนถึงปัจจุบัน จนกระทั่ง พ.ศ. 2507 สมัย ฯพณฯ จอมพลถนอม กิติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้ย้ายศาลากลางจังหวัดมาสร้างใหม่สง่างามที่บริเวณสนามบินเก่า ห่างจากจุดที่ตั้งเดิม ประมาณ 2 กิโลเมตร เรียกว่า "ศูนย์ราชการ"เป็นไปตามดำริของ ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกรัฐมนตรีที่ได้เริ่มต้นไว้ก่อนนั่นเอง จะเห็นได้ว่า เมืองขอนแก่นนับจากมีใบบอกให้ตั้งเมือง เมื่อ พ.ศ. 2340 จนกระทั่งปัจจุบันเป็นเวลา 200 ปี ได้มีการย้ายเมืองมาแล้วหลายครั้ง จนกระทั่ง ณ ที่ตั้งปัจจุบัน เมืองขอนแก่นได้มีความเจริญรุดหน้ามาโดยลำดับ และมีความเป็นศูนย์กลางของภาคอีสานมานับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพีย เป็นตำแหน่งขุนนาง ทางขนบธรรมเนียมประเพณี ระบอบการปกครองของภาคอีสาน สมัยเก่า ซึ่งเทียบเท่าชั้นเสนาบดี หรือกรมเมือง ถ้าเป็นเมืองที่มีกษัตริย์ใช้ชื่อ พญา หรือ พระยา นำหน้า แต่ถ้าเป็นหัวเมืองใช้คำว่า เพีย นำหน้า (เพีย มาจาก พญา -พีระ-เพียร ไม่ใช่ เพี้ย ซึ่งเป็นภาษท้องถิ่น) ชีโหล่น สันนิษฐานว่า แปลมาจากชีล้น หมายถึงน้ำชีล้นนั่นเอง เป็นเมืองภูเวียง ขึ้นกับเมืองขอนแก่น เหนือ เรียกตามกระแสน้ำไหล ต้นน้ำเรียกว่าเหนือ ปลายน้ำเรียกว่าใต้ ที่บึงบอนเวลาฝนตก น้ำไหลจากทางบ้านเมืองเก่า ลงไปทางบึงทุ่งสร้าง จึงเรียกทางคุ้งเมืองเก่าว่า เหนือ ศาลากลาง เดิมอาศัยบ้านเจ้าของเมืองเรียกว่า โฮงเจ้าเมือง (โฮงโรง หรือ จวน) ว่าจะปลูกสร้างเป็นบ้าน 3 หลังติดกัน และใหญ่โตกว่าบ้านราษฎรธรรมดามาก หลังกลางปลูกเป็นห้องโถงโล่งตลอด ใช้สำหรับปรึกษาราชการต่างๆ ได้