ผู้สูงอายุ และเทศกาลสงกรานต์ สายสัมพันธ์กันอย่างไร

ผู้สูงอายุ และเทศกาลสงกรานต์ สายสัมพันธ์กันอย่างไร ช่วงนี้ ชวนอ่าน การกำหนดให้วันสงกรานต์ และวันผู้สูงอายุ ผูกรวมไว้กับวันขึ้นใหม่ไทย หรือวันสงกรานต์ ตรงกับวันที่ 13 เมษายนของทุกปีนั้นสำคัญอย่างไร มาดูประวัติ ที่มา และความสำคัญ “สงกรานต์” เป็นคำภาษาสันสกฤตแปลว่า “ผ่าน”หรือ”เคลื่อนย้ายเข้าไป” ในที่นี้หมายถึงเป็นวันที่พระอาทิตย์ผ่านหรือเคลื่อนย้าย จากราศีมีน เข้าสู่ราศีเมษ ในเดือนเมษายน ถือเป็นช่วงสงกรานต์หากพระอาทิตย์เคลื่อนย้ายในช่วงเดือนอื่นๆ ถือเป็นการเคลื่อนย้ายธรรมดา ตามปกตินั้น พระอาทิตย์จะย้ายจากราศีหนึ่งไปสู่อีกกลุ่มดาวหนึ่ง ตามหลักโหราศาสตร์หรือภาษาโหรเรียกว่า”ยกขึ้นสู่” ตัวอย่างเช่น พระอาทิตย์ขึ้นสู่ราศีเมษ ก็คือการที่พระอาทิตย์ย้ายจากกลุ่มดาวราศีมีนไปสู่กลุ่มราศีเมษ ซึ่งเป็นราศีถัดไปนั่นเอง ประเพณีสงกรานต์ของคนไทยที่ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน สงกรานต์เป็นคำที่ชาวบ้านทั่วไปนิยมใช้ แต่คำเต็มๆ คือ ตรุษสงกรานต์ โดย ตรุษ แปลว่า ตัด หรือ ขาด หมายถึง ตัดปี ขาดปี หรือสิ้นปี ดังนั้น ตรุษ จึงหมายถึงพิธีแสดงความยินดีที่ปีเก่าผ่านไปการมีชีวิตรอดมาตลอดปีได้ ก็มีการแสดงความยินดี คนไทยแต่ก่อนนับเดือน 4 วันแรม 14 ค่ำ แรม 15 ค่ำ และวันขึ้น 1 ค่ำ ของเดือน 5 จะมีการนิมนต์พระมา สวด และมีการทำบุญ ถวายอาหารและขอพรจากพระ เพื่อเป็นสวัสดิมงคล สันนิฐานว่าคนไทยรับการนับถือพระพุทธศาสนา เลยทำแบบอย่างพิธีทำบุญวันตรุษตามแบบอย่างของลังกามาด้วย วันปีใหม่จะเป็นวันที่ 13,14 และวันที่ 15 เมษายน ของทุกปี ดังนั้น จึงได้กำหนดให้วันสงกรานต์ และวันผู้สูงอายุ ผูกรวมไว้กับวันขึ้นปีใหม่ไทย หรือวันสงกรานต์ ตรงกับวันที่ 13 เมษายนของทุกปี ส่วนของวันผู้สูงอายุนั้น มีประวัติและความเป็นมาจากคณะกรรมการอำนวยการวันอนามัยโลกของกระทรวงสาธารณสุข ได้มีมติให้ใช้ คำขวัญเป็นภาษาไทย ว่า “ให้ความรัก พิทักษ์อนามัย ผู้สูงวัยอายุยืน” ในขณะที่องค์การอนามัยโลกกำหนดคำขวัญภาษาอังกฤษว่า Add life to years ในปี พ.ศ. 2525 ซึ่งถือว่าเป็นปีรณรงค์เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ซึ่งทางองค์การสหประชาชาติได้จัดประชุมสมัชชาโลกเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรเลีย และได้ให้ความหมายของคำว่า ” ผู้สูงอายุ ” ว่า ผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคลทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป และได้พิจารณาประเด็นสำคัญเกี่ยวกับผู้สูงอายุไว้ 3 ประการ คือ ด้านมนุษยธรรม ด้านการศึกษา และด้านการพัฒนา ในประเทศไทยที่สมัยรัฐบาลในสมัย พล.เอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของผู้สูงอายุ เพราะเห็นปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และคิดว่าจะทำอย่างไรจึงจะให้ลูกหลานได้กลับมารวมตัวกันในวันสำคัญเช่นนี้ ทางคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2525 อนุมัติให้วันที่ 13 เมษายนของทุกปีเป็นวันผู้สูงอายุ เพราะนอกจากเป็นวันสงกรานต์ หรือปีใหม่ไทยแล้ว ยังถือเป็นเสมือนวันรวมญาติ ซึ่งรัฐบาลเองก็มองเห็นความสำคัญ และความสอดคล้องกัน ทำให้กำหนดวันสงกรานต์นี้ เป็นวันผู้สูงอายุด้วยและได้เลือก “ดอกลำดวน” เป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุ เนื่องจากดอกลำดวนเป็นต้นไม้ที่ให้ความร่มเย็น ลำต้นมีอายุยืน มีใบเขียวตลอดปี ให้ร่มเงาดีและดอกมีสีนวล กลิ่นหอม กลีบแข็งไม่ร่วงง่าย เหมือนกับผู้ทรงวัยวุฒิ ที่คงคุณธรรมความดีงามไว้ให้เป็นแบบอย่างแก่ลูกหลานตลอดไป และต้นลำดวนเป็นพืชยืนต้นที่มีอยู่มากในสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประการสำคัญ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงดำริให้จัดสวนนี้ขึ้น เพื่อให้เป็นตัวอย่างที่ดีของผู้สูงอายุอีกด้วย เล่ากันว่าครั้งหนึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราฯ บรมราชชนนีหรือสมเด็จย่าของชาวไทย เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชาวศรีสะเกษ เมื่อทรงทอดพระเนตรเห็นดอกลำดวนบานสะพรั่งส่งกลิ่นหอมโชยชื่น ก็ทรงพอพระราชหฤทัยมาก ดอกลำดวนจึงกลายเป็นเครื่องหมายของคนสูงอายุนับแต่นั้น เมื่อเห็นประโยชน์ทางการแพทย์ของลำดวนแล้ว ก็นับว่าเหมาะจะเป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงวัยจริงๆ เพราะดอกลำดวนตากแห้งมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของหัวใจและกระตุ้นการผลิตเซลล์เม็ดเลือด รวมทั้งช่วยกระชับกล้ามเนื้ออีกด้วย ถือว่ามีสรรพคุณในทางบำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้ร่างกายสดชื่นอ่อนเยาว์อยู่เสมอ ดอกลำดวน ผู้สูงอายุ แม้จะเป็นวัยที่หลายคนนิยามว่าเป็น “ไม้ใกล้ฝั่ง” แต่ “ผู้สูงอายุ” ทั้งหลายคือผู้สร้างประโยชน์ให้แก่ชาติบ้านเมืองมาแล้วนับไม่ถ้วน หรืออย่างน้อยๆ ก็เป็นหนึ่งในผู้มีพระคุณของครอบครัวที่ไม่ควรจะละเลย ยังนับเป็นประชากรที่มีสัดส่วนมาก ทั่วโลกจึงพากันรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ ด้วยการกำหนด “วันผู้สูงอายุ” ขึ้นเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้บรรดาลูกหลานทั้งหลายหันมอง และเอาใจใส่ผู้สูงอายุที่เป็นคนใกล้ตัว ดังนั้นในวันที่ 13 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่านอกจากจะทำบุญตักบาตรในช่วงเช้าตามวิถีชาวพุทธแล้ว กิจกรรมสำคัญอันดับต้น ๆ ของวัน ก็คือการรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้หลักผู้ใหญ่ที่นับถือนั่นเอง ประเพณีรดน้ำไหว้ผู้ใหญ่ เป็นประเพณีของไทยอันสืบเนื่องมาจากประเพณีงานสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทย ที่แสดงออกถึงความเคารพนบนอบต่อผู้ใหญ่หรือผู้ที่เคารพนับถือและผู้มีพระคุณ เพื่อแสดงความกตัญญูพร้อมกับการขอขมา และขอรับพรเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองเนื่องในวันสำคัญ เช่น วันขึ้นปีใหม่หรือวันสงกรานต์ของไทยในเดือนเมษายน “การดำหัว” ก็คือการรดน้ำนั่นเอง แต่เป็นคำเมืองทางเหนือการดำหัวเรียกกันเฉพาะการรดน้ำผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง เช่น พ่อเมือง เจ้าเมือง เป็นต้น เป็นการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไป หรือการขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่ สิ่งที่ต้องนำไปในการรดน้ำดำหัวก็คือ น้ำใส่ขันเงินใบใหญ่ ในน้ำใส่ผักส้มป่อย โปรยเกสรดอกไม้และเจือน้ำหอม น้ำปรุงเล็กน้อย พร้อมด้วยพานข้าวตอกดอกไม้เป็นเครื่องสักการะอีกพานหนึ่ง การรดน้ำดำหัวมักจะไปกันเป็นหมู่ โดยจะถือเครื่องที่จะดำหัวไปด้วย ดังนั้นวันสงกรานต์ จะให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุมาก มีอะไรบ้าง สิ่งที่ดีที่สุดก็คือการให้เวลาแก่ท่าน ใช้เวลาอยู่ด้วยกัน สร้างเสียงหัวเราะและรอยยิ้มให้กัน อาจหาของขวัญชิ้นพิเศษในการแสดงความรัก… อะไรที่ท่านอยากได้มานานแล้ว หรืออะไรที่เราคิดว่าอยากให้ท่านได้ใช้ ก็นำมามอบให้ในวันนี้ จะสร้างความประทับใจได้มาก รดน้ำดำหัวขอพร แสดงความรักและเคารพแก่ท่าน ผู้มีพระคุณและดูแลเรามาตลอด พรจากพระในบ้านเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด และศักดิ์สิทธิ์ยิ่งกว่าใคร หากเป็นสายออกกำลังกาย ชวนกันไปออกกำลังกายนอกบ้าน เดินเบา ๆ ระหว่างนั้นก็ถามสารทุกข์ชีวิตความเป็นอยู่ หรือปรึกษาเรื่องต่างๆ ไปด้วยก็ได้ ได้ทั้งสุขภาพ ได้ทั้งความเข้าใจกัน หากท่านเป็นสายสนุกสนาน ก็ชวนกันไปร้องคาราโอเกะด้วยกัน หรือออกสเต็ปเต้นรำได้ด้วยหากท่าน ๆ ชอบ หาการละเล่นอะไรแบบเด็กๆ ย้อนวัย เล่นด้วยกันที่บ้านได้ แต่สำหรับปีนี้ที่โควิด 19 กำลังระบาดรอบสาม การจะมีกิจกรรมแบบเดิมคงจะไม่ปลอดภัยทั้งผู้สูงอายุและลูกหลาน เราจึงควรมีแนวปฏิบัติที่มีความปลอดภัยกับทุกคน ลูกหลานที่อยู่ไกลกับบ้านผู้สูงอายุ ไม่ควรเดินทางไปหากัน แต่ควรปลี่ยนมาเป็นให้แสดงความกตัญญูทางไกล เช่น โทรศัพท์คุยกัน คุยผ่านสื่อโซเซียลมีเดียในลักษณะเห็นหน้าผ่านทางวิดีโอคอล ปลอดภัยทั้งครอบครัวก็อบอุ่นหัวใจไม่แพ้กัน ลูกหลานที่อยู่ใกล้กับบ้านผู้สูงอายุ ไม่แนะนำให้มีการรดน้ำดำหัว แต่ให้แสดงความกตัญญูต่อผู้สูงอายุโดยเว้นระยะห่าง 1-2 เมตร ลูกหลานที่อยู่บ้านเดียวกันกับผู้สูงอายุ เลี่ยงการออกนอกบ้านเพื่อไม่เป็นพาหะนำโรคมาให้ผู่สูงอายุ ถ้าจำเป็นต้องออกนอกบ้าน เมื่อกลับมาแล้วต้องรีบล้างมือให้สะอาด เปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย เน้นล้างมือบ่อย ๆ การดูแลผู้สูงอายุช่วงเทศกาล “สงกรานต์” ควรจะปฏิบัติ โดยการงดพาผู้สูงอายุออกนอกบ้าน หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่ก่อนรับประทานอาหาร และล้างมือหลังใช้ห้องน้ำ ไม่ใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก กินร้อน ใช้ช้อนส่วนตัว แยกสำรับอาหารและแยกของใช้จำเป็นของผู้สูงอายุ อย่าให้ปะปนกับของลูกหลาน แต่หากมีอาการผิดปกติ หรือมีโรคประจำตัวที่ต้องไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเป็นประจำ แต่หากเป็นไปได้ ควรหลีกเลี่ยงการไปนอกสถานที่หรือโรงพยาบาล แต่ควรติดต่อผ่านช่องทางสื่อสารก่อน หากสามารถสื่อสารในการรักษาเบื้องต้นหรือสั่งยาได้ จะช่วยลดความเสี่ยงในการพบปะกัน

ความคิดเห็น

  1. การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ และธรรมสถานวัฒนธรรมไทย
    วัดถ้ำลอดเจริญธรรม ต.เนินมะปราง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก

    แนวความคิด แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
    ตามคำจำกัดความการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของราชบัณฑิตยสถาน แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศจะหมายรวมถึง แหล่งท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์ทุกแห่งตั้งแต่แหล่งธรรมชาติ โบราณสถาน ไปจนถึงชุมชนท้องถิ่น เพราะฉะนั้นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า อุทยานประวัติศาสตร์ แหล่งโบราณคดี ไปจนถึงชุมชนต่างๆ ที่เปิดให้มีการท่องเที่ยว
    วัดถ้ำลอดเจริญธรรม ต.เนินมะปราง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก
    การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นการท่องเที่ยวที่อาศัยธรรมชาติเป็นฐาน (nature - based tourism ) เช่น แหล่งท่องเที่ยวประเภท อุทยาน วนอุทยาน ภูเขา,ถ้ำ และต้นไม้วิวเขา เป็นต้น แต่อาจหมายรวมถึง ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น ต.เนินมะปราง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก หากสิ่งเหล่านี้ปรากฏอยู่ในหรือเกี่ยวข้องกับระบบนิเวศธรรมชาติ
    การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นการท่องเที่ยวที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศน้อยหรือต่ำ หรือไม่มีผลกระทบต่อวิถีทางธรรมชาติและวัฒนธรรมท้องถิ่น จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางลบ เพราะฉะนั้นการป้องกันและควบคุมผลกระทบอันเกิดจากการท่องเที่ยว
    องค์ประกอบสำคัญที่ควรพิจารณาอยู่ 3 ประการ คือ การสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว และการมีส่วนร่วมของชุมชนการสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติและระบบนิเวศ

    กิจกรรมการท่องเที่ยว
    วัดถ้ำลอดเจริญธรรม ต.เนินมะปราง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นกิจกรรมที่เอื้อให้เกิดประสบการณ์เรียนรู้แก่นักท่องเที่ยวและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น
    1.กิจกรรมการเดินป่า
    2.กิจกรรมศึกษาธรรมชาติ
    3.กิจกรรมถ่ายรูปธรรมชาติ บันทึกเทปวิดีโอเทปเสียงธรรมชาติ
    4.กิจกรรมส่อง/ ดูนก กิจกรรมศึกษา/ เที่ยวถ้ำ ไหว้พระกราบปิดทองลอยพุทธบาทสี่ลอย ที่เกิดขึ้น ในรูปแบบธรรมชาติ และ ถ่ายรูป หงส์ ซึ่งเป็นหินปูน ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ที่สร้างสรรค์มาเมื่อ 300 ล้านปี
    5.กิจกรรมชมสวนอุทยานลานพระพุทธปัญญา
    6.กิจกรรมให้อาหารลิงป่า จำนวนหลายร้อยตัว
    7.กิจกรรมให้อาหารช้างและการอนุรักษ์ช้างไทยตลอดจน การอนุรักษ์ วัวและควายไทย
    8.กิจกรรมปั่นจักยาน รอบอุทยาน หรือ อาจเป็น กิจกรรมประเภทตื่นเต้นผจญภัยหรือชื่นชมธรรมชาติ
    9.กิจกรรมวิสาหกิจชุมชน อ. เนินมะปราง
    10.กิจกรรมการผู้สูงอายุ ธรรมะอนุรักษ์ศิลปะและประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นไทย
    การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ และธรรมสถานวัฒนธรรมไทย
    วัดถ้ำลอดเจริญธรรม ต.เนินมะปราง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก
    ท่าน พระมหากฤชวัฒน์ ปญญาวุโธ ประธานโครงการ
    ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ผจก .โครงการและประสานงาน

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น