พญาหงส์ ( ชวนหังสชาดก ) พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารถพระเทศนาทัฬหธัมมนนุคคหสูตร

ความเร็วของพญาหงส์ ( ชวนหังสชาดก ) ๏ ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารถพระเทศนาทัฬหธัมมนนุคคหสูตร ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า... กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นชวนหงส์ มีหงส์บริวาร ๙๐,๐๐๐ ตัว อาศัยอยู่ภูเขาจิตตกูฏ วันหนึ่ง ชวนหงส์บริวารไปกินข้าวสาลีเกิดเองในสระแห่งหนึ่งอิ่มแล้ว ตอนเย็นก็พากันบินกลับภูเขาจิตตกูฏผ่านเมืองพารณสีไป ขณะนั้นพระราชาเมืองพารณสีทอดพระเนตรเห็นชวนหงส์บินนำหน้าฝูงหงส์ไป จึงตรัสแก่อำมาตย์ว่า "หงส์ตัวนั้นคงจะเป็นราชาหงส์เช่นเดียวกับเราเป็นแน่" เกิดความรักในพญาหงส์นั้นทรงถือดอกไม้่ของหอมแล้วให้ประโคมดนตรี พญาหงส์เหลือบเห็นพระราชายืนทอดพระเนตรตนอยู่ จึงถามฝูงหงส์ว่า "พระราชาทรงทำสักกาะรพวกเราด้วยมีพระประสงค์อะไร" เมื่อฝูงหงส์ตอบว่า "ทรงมีพระประสงค์มิตรภาพกับพระองค์พระเจ้าข้า" ก็ทำมิตรภาพกับพระราชาแล้วก็บินหนีไป อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปสวนหลวง ฝ่ายชวนหงส์บินไปสระอโนดาต ใช้ปีกข้างหนึ่งนำน้ำ อีกข้างหนึ่งนำผงมาโปรยใส่พระราชา แล้วบินกลับภูเขาจิตตกูฏ ตั้งแต่วันนั้นมาพระราชาเฝ้าแต่คิดถึงชวนหงส์ ดำริว่า "สหายของเราจะมาวันนี้ ๆ " สมัยนั้น ชวนหงส์มีน้องอีกสองตัว พวกมันปรึกษากันจะบินแข่งกับพระอาทิตย์ ถูกชวนหงส์ห้ามไว้ก็ไม่ฟัง เช้าตรู่วันหนึ่งพวกมันพากันไปจับอยู่ยอดเขายุคันธร เมื่อชวนหงส์ไม่เห็นน้องทั้งสองจึงติดตามไปที่ยอดเขายุคันธรด้วย พอดวงอาทิตย์โผล่ขึ้นไปเท่านั้น หงส์ทั้งคู่ก็บินถลาขึ้นไปกับดวงอาทิตย์นั้น ชวนหงส์ก็บินไปกับน้องชายทั้ง ๒ ด้วย น้องเล็กบินแข่งไปได้นิดเดียวเพียงเวลาสายก็อิดโรยบินไปไม่ไหว ชวนหงส์จึงนำไปส่งไว้ที่ภูเขาจิตตกูฏมอบให้ฝูงหงส์ดูแลแล้วบินกลับไปทันน้องกลาง น้องกลางบินไปได้เวลาเที่ยงก็อิดโรยบินต่อไปไม่ไหว ชวนหงส์ก็นำเขาไปภูเขาจิตตกูฏตามเดิมขณะนั้นดวงอาทิตย์อยู่กลางฟ้าพอดี ชวนหงส์คิดอยากลองกำลังของตนเอง ใช้เวลาบินรวดเดียวไปจับที่ยอดเขายุคันธรแล้วบินรวดเดียวมาที่ดวงอาทืตย์ บินไปกับดวงอาทิตย์ บางคราวอยู่หน้า บางคราวอยู่หลังดวงอาทิตย์ เห็นว่าไม่มีประโยชน์จึงบินไปเมืองพาราณสี เพื่อไปพบพระราชา จับอยู่ที่สีหบัณชร (หน้าต่าง) พระราชาทราบว่าหงส์ผู้สหายมาถึงแล้ว รับสั่งให้ตั้งตั่งทองให้พญาหงส์จับและตรัสว่า "พญาหงส์ ดีใจที่ท่านมา ในพระราชวังนี้ มีสิ่งใดที่ท่านรังเกียจโปรดบอกด้วย สหาย.. มาลำพังผู้เดียวท่านไปไหนมาเล่า" พญาหงส์จึงเล่าเรื่องต่าง ๆ ให้ฟัง พระราชาต้องการทอดพระเนตรความเร็วของพญาหงส์ จึงตรัสให้พญาหงส์แสดงให้ดูพญาหงส์รับคำว่า "ถ้าแข่งความเร็วกับดวงอาทิตย์นั้นก็คงจะแสดงไม่ได้แล้วละ เพราะดวงอาทิตย์จะตกดินแล้ว ขอเชิญพระองค์ให้นายขมังธนู ๔ นายมาประชุมกันเถิด ข้าพเจ้าจักแสดงให้ดู" พระราชามีรับสั่งให้นายขมังธนู ๔ นายหันหน้าไปคนละทิศแล้วยิงลูกศรไปทิศทั้ง ๔ ในเวลาพร้อมกัน มีพญาหงส์จับอยู่บนยอดเสาศิลา บินตามเก็บลูกศรที่ถูกยิงออกไปทิศทั้ง ๔ พร้อมกันโดยไม่ให้ตกลงพื้นดินแม้สักลูกเดียว พญาหงส์ปล่อยลูกธนูทิ้งไว้ที่เท้าของนายขมังธนูแล้วจับบนยอดเสาศิลาตามเดิม พระราชาทรงชมเชยว่า "สหาย.. ความเร็วอย่างอื่นที่รวดเร็วกว่าท่านมีอยู่อีกหรือ ?" พญาหงส์ทูลว่า "อายุสังขารของสัตว์นั้นไงย่อมสิ้นสลายเร็วกว่าความเร็วของข้าพเจ้าตั้งร้อยเท่าพันทวี" พระราชาพอฟังจบเกิดการกลัวตายได้เป็นลมล้มหมดสติไป พวกอำมาตย์เอาน้ำสรงพระพักตร์ให้พระราชาทรงฟื้นคืนสติกลับมาพญาหงส์ให้โอวาทพระราชาว่า "ขอเชิญพระองค์เจริญมรณสติอย่าประมาทประพฤติธรรมเถิด" พระราชาอ้อนวอนให้พญาหงส์อยู่ด้วยว่า "ฉันไม่อาจจะอยู่แยกจากท่านได้ ท่านเป็นที่รักของฉัน ขอเชิญท่านอยู่ด้วยกันกับฉันเสียที่นี่เถอะ" พญาหงส์ "เกิดพระองค์เมาน้ำจัณฑ์รับสั่งให้ย่างข้าพเจ้าเข้าสักวันจะทำอย่างไรละ" พระราชา "เอาเถอะถึงฉันจะชอบดื่มน้ำจัณฑ์ เมื่อท่านเข้ามาอยู่ในวัง ฉันจะเลิกดื่มน้ำจัณฑ์ก็ได้" พญาหงส์ "จิตใจมนุษย์รู้ได้ยาก การอยู่ด้วยกันนานเกินไปคนรักกันก็กลายเป็นคนไม่รักกันได้ข้าพเจ้าขอลาท่านไปก่อนที่ท่านจะกลายเป็นคนไม่มีความรักในข้าพเจ้าจะดีกว่า" พระราชา "ถ้าไม่ได้จริง ๆ เราขอให้ท่านรับปากอย่างหนึ่ง คือ หมั่นมาหาเราที่นี่บ่อย ๆ นะ" พญาหงส์ "ถ้าพวกเราอยู่กันอย่างนี้พวกเราก็จะไม่มีอันตราย ข้าพเจ้ารับปากท่านว่า เราพบกันแน่ในคืนวันพรุ่งนี้กล่าวจบก็บินกลับภูเขาจิตตกูฏไป สหายทั้งสองต่างไปมาหาสู่กันจนตราบสิ้นชีวิต นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : กำลังความเร็วของอายุของสรรพสัตว์รวดเร็วยิ่งกว่าสิ่งใด ๆ ในโลก ขออย่าได้ประมาทเถิดท่านทั้งหลาย

ความคิดเห็น

  1. ความเร็วของพญาหงส์ ( ชวนหังสชาดก ) ๏ ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารถพระเทศนาทัฬหธัมมนนุคคหสูตร ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า... กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นชวนหงส์ มีหงส์บริวาร ๙๐,๐๐๐ ตัว อาศัยอยู่ภูเขาจิตตกูฏ วันหนึ่ง ชวนหงส์บริวารไปกินข้าวสาลีเกิดเองในสระแห่งหนึ่งอิ่มแล้ว ตอนเย็นก็พากันบินกลับภูเขาจิตตกูฏผ่านเมืองพารณสีไป ขณะนั้นพระราชาเมืองพารณสีทอดพระเนตรเห็นชวนหงส์บินนำหน้าฝูงหงส์ไป จึงตรัสแก่อำมาตย์ว่า "หงส์ตัวนั้นคงจะเป็นราชาหงส์เช่นเดียวกับเราเป็นแน่" เกิดความรักในพญาหงส์นั้นทรงถือดอกไม้่ของหอมแล้วให้ประโคมดนตรี พญาหงส์เหลือบเห็นพระราชายืนทอดพระเนตรตนอยู่ จึงถามฝูงหงส์ว่า "พระราชาทรงทำสักกาะรพวกเราด้วยมีพระประสงค์อะไร" เมื่อฝูงหงส์ตอบว่า "ทรงมีพระประสงค์มิตรภาพกับพระองค์พระเจ้าข้า" ก็ทำมิตรภาพกับพระราชาแล้วก็บินหนีไป อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปสวนหลวง ฝ่ายชวนหงส์บินไปสระอโนดาต ใช้ปีกข้างหนึ่งนำน้ำ อีกข้างหนึ่งนำผงมาโปรยใส่พระราชา แล้วบินกลับภูเขาจิตตกูฏ ตั้งแต่วันนั้นมาพระราชาเฝ้าแต่คิดถึงชวนหงส์ ดำริว่า "สหายของเราจะมาวันนี้ ๆ " สมัยนั้น ชวนหงส์มีน้องอีกสองตัว พวกมันปรึกษากันจะบินแข่งกับพระอาทิตย์ ถูกชวนหงส์ห้ามไว้ก็ไม่ฟัง เช้าตรู่วันหนึ่งพวกมันพากันไปจับอยู่ยอดเขายุคันธร เมื่อชวนหงส์ไม่เห็นน้องทั้งสองจึงติดตามไปที่ยอดเขายุคันธรด้วย พอดวงอาทิตย์โผล่ขึ้นไปเท่านั้น หงส์ทั้งคู่ก็บินถลาขึ้นไปกับดวงอาทิตย์นั้น ชวนหงส์ก็บินไปกับน้องชายทั้ง ๒ ด้วย น้องเล็กบินแข่งไปได้นิดเดียวเพียงเวลาสายก็อิดโรยบินไปไม่ไหว ชวนหงส์จึงนำไปส่งไว้ที่ภูเขาจิตตกูฏมอบให้ฝูงหงส์ดูแลแล้วบินกลับไปทันน้องกลาง น้องกลางบินไปได้เวลาเที่ยงก็อิดโรยบินต่อไปไม่ไหว ชวนหงส์ก็นำเขาไปภูเขาจิตตกูฏตามเดิมขณะนั้นดวงอาทิตย์อยู่กลางฟ้าพอดี ชวนหงส์คิดอยากลองกำลังของตนเอง ใช้เวลาบินรวดเดียวไปจับที่ยอดเขายุคันธรแล้วบินรวดเดียวมาที่ดวงอาทืตย์ บินไปกับดวงอาทิตย์ บางคราวอยู่หน้า บางคราวอยู่หลังดวงอาทิตย์ เห็นว่าไม่มีประโยชน์

    ตอบลบ
  2. การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ และธรรมสถานวัฒนธรรมไทย
    วัดถ้ำลอดเจริญธรรม ต.เนินมะปราง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก

    แนวความคิด แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
    ตามคำจำกัดความการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของราชบัณฑิตยสถาน แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศจะหมายรวมถึง แหล่งท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์ทุกแห่งตั้งแต่แหล่งธรรมชาติ โบราณสถาน ไปจนถึงชุมชนท้องถิ่น เพราะฉะนั้นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า อุทยานประวัติศาสตร์ แหล่งโบราณคดี ไปจนถึงชุมชนต่างๆ ที่เปิดให้มีการท่องเที่ยว
    วัดถ้ำลอดเจริญธรรม ต.เนินมะปราง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก
    การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นการท่องเที่ยวที่อาศัยธรรมชาติเป็นฐาน (nature - based tourism ) เช่น แหล่งท่องเที่ยวประเภท อุทยาน วนอุทยาน ภูเขา,ถ้ำ และต้นไม้วิวเขา เป็นต้น แต่อาจหมายรวมถึง ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น ต.เนินมะปราง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก หากสิ่งเหล่านี้ปรากฏอยู่ในหรือเกี่ยวข้องกับระบบนิเวศธรรมชาติ
    การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นการท่องเที่ยวที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศน้อยหรือต่ำ หรือไม่มีผลกระทบต่อวิถีทางธรรมชาติและวัฒนธรรมท้องถิ่น จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางลบ เพราะฉะนั้นการป้องกันและควบคุมผลกระทบอันเกิดจากการท่องเที่ยว
    องค์ประกอบสำคัญที่ควรพิจารณาอยู่ 3 ประการ คือ การสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว และการมีส่วนร่วมของชุมชนการสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติและระบบนิเวศ

    กิจกรรมการท่องเที่ยว
    วัดถ้ำลอดเจริญธรรม ต.เนินมะปราง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นกิจกรรมที่เอื้อให้เกิดประสบการณ์เรียนรู้แก่นักท่องเที่ยวและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น
    1.กิจกรรมการเดินป่า
    2.กิจกรรมศึกษาธรรมชาติ
    3.กิจกรรมถ่ายรูปธรรมชาติ บันทึกเทปวิดีโอเทปเสียงธรรมชาติ
    4.กิจกรรมส่อง/ ดูนก กิจกรรมศึกษา/ เที่ยวถ้ำ ไหว้พระกราบปิดทองลอยพุทธบาทสี่ลอย ที่เกิดขึ้น ในรูปแบบธรรมชาติ และ ถ่ายรูป หงส์ ซึ่งเป็นหินปูน ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ที่สร้างสรรค์มาเมื่อ 300 ล้านปี
    5.กิจกรรมชมสวนอุทยานลานพระพุทธปัญญา
    6.กิจกรรมให้อาหารลิงป่า จำนวนหลายร้อยตัว
    7.กิจกรรมให้อาหารช้างและการอนุรักษ์ช้างไทยตลอดจน การอนุรักษ์ วัวและควายไทย
    8.กิจกรรมปั่นจักยาน รอบอุทยาน หรือ อาจเป็น กิจกรรมประเภทตื่นเต้นผจญภัยหรือชื่นชมธรรมชาติ
    9.กิจกรรมวิสาหกิจชุมชน อ. เนินมะปราง
    10.กิจกรรมการผู้สูงอายุ ธรรมะอนุรักษ์ศิลปะและประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นไทย
    การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ และธรรมสถานวัฒนธรรมไทย
    วัดถ้ำลอดเจริญธรรม ต.เนินมะปราง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก
    ท่าน พระมหากฤชวัฒน์ ปญญาวุโธ ประธานโครงการ
    ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ผจก .โครงการและประสานงาน

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น