การพัฒนาวัดอุทยานการศึกษาและวัดพัฒนาตัวอย่าง เราจะเร่งพัฒนาให้จริงจังร่วมงานกันหลายฝ่ายให้ดียิ่งขึ้น วัดถ้ำลอดเจริญธรรม
การพัฒนาวัดอุทยานการศึกษาและวัดพัฒนาตัวอย่าง
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ดำเนินการส่งเสริมให้วัดเป็นวัดอุทยานการศึกษาและวัดพัฒนาตัวอย่าง โดยมีหลักการและวิธีการในการส่งเสริมวัดอุทยานการศึกษา คือ
๑. วัดมีการส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้แก่ประชาชน เช่น การจัดตั้งพิพิธภัณฑสถาน พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน หรือแหล่งการการเรียนรู้ในรูปแบบอาคารสิ่งปลูกสร้าง อุทยานการเรียนรู้ หรือมุมใดมุมหนึ่งภายในวัด เพื่อจัดแสดงนิทรรศการเสริมสร้างการเรียนรู้แก่คนในชุมชนและบุคคลทั่วไปหรือเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานโบราณวัตถุอันทรงคุณค่าของชุมชน
๑. วัดมีการส่งเสริม พัฒนาระบบการจัดกิจกรรมทางการศึกษา และการเผยแพร่ความรู้ทางพระพุทธศาสนาและภูมิปัญญาแก่พระภิกษุ สามเณร และประชาชน เช่น
- การจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม
- การจัดตั้งศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
- การจัดสอนธรรมศึกษาแก่เด็กนักเรียน
- การจัดตั้งศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด
- การจัดตั้งศูนย์ฝึกอาชีพแก่ประชาชนในวัด
- การจัดสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานแก่ประชาชน ฯลฯ
๓. วัดมีการพัฒนาระบบและจัดสถานที่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร นิทรรศการ ป้ายคติธรรม พุทธภาษิต หรือความรู้ทางวิชาการ ห้องสมุดหรือมุมหนังสือ ป้ายบอกชื่อต้นไม้ และหอกระจายข่าวในวัด และมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของวัดผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ เว็บเพจ เฟซบุ๊ค เป็นต้น เพื่อสร้างกิจกรรมการเรียนรู้และแนวปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนา
๔. เป็นวัดที่มีการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม หรือเอื้อประโยชน์ต่อชุมชน โดยดำเนินการเป็นโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมแก่ประชาชนอย่างน้อย ๑ โครงการ/ปี
๕. การจัดการสิ่งแวดล้อมและบริเวณวัดมีความสะอาด สงบ ร่มรื่น สวยงาม โดยมีการจัดทำแผนผังวัดแสดงพื้นที่บริเวณวัด และอาคารเสนาสนะต่าง ๆ ในวัด และติดตั้งไว้ในบริเวณที่สามารถเห็นได้ชัดเจน เป็นต้น
สำหรับวัดพัฒนาตัวอย่างนั้น มีหลักการสำคัญ คือ
๑. วัดมีการจัดการสิ่งแวดล้อม บริเวณวัด ภูมิสถาปัตยกรรมเป็นสัดส่วน สะอาด สงบ ร่มรื่น สวยงาม อาคารเสนาสนะมั่นคง เป็นระเบียบแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน เขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส และเขตธรณีสงฆ์หรือเขตสาธารณสงเคราะห์ และเป็นวัดที่เข้าร่วมโครงการ วัด ประชา รัฐ สร้างสุข
๒. วัดมีการส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาทั้งในด้านพระปริยัติธรรม พระพุทธศาสนา และภูมิปัญญาแก่พระภิกษุ สามเณร และประชาชน ตลอดจนการสอนฝึกอาชีพแก่ประชาชน โดยมีแนวทางการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมบนพื้นฐานวิถีวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา
๓. วัดมีการส่งเสริมและจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมศีลธรรม จริยธรรม กิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันสำคัญของชาติ สถาบันพระมหากษัตริย์ และวัดตามเทศกาลต่าง ๆ และการจัดกิจกรรมที่เอื้อประโยชน์แก่ชุมชน
๔. วัดที่มีการจัดการปกครองพระภิกษุ สามเณร และศิษย์วัด อย่างมีระเบียบและปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ คำสั่งของมหาเถรสมาคม ที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการ
๕. กิจกรรมการพัฒนาสังคม โดยจัดทำแผนงานหรือโครงการที่ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม หรือเอื้อประโยชน์ต่อชุมชนอย่างน้อย ๒ โครงการ
การพัฒนาวัดอุทยานการศึกษาและวัดพัฒนาตัวอย่าง
ตอบลบการพัฒนาวัดอุทยานการศึกษาและวัดพัฒนาตัวอย่าง
ตอบลบสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ดำเนินการส่งเสริมให้วัดเป็นวัดอุทยานการศึกษาและวัดพัฒนาตัวอย่าง โดยมีหลักการและวิธีการในการส่งเสริมวัดอุทยานการศึกษา คือ
๑. วัดมีการส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้แก่ประชาชน เช่น การจัดตั้งพิพิธภัณฑสถาน พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน หรือแหล่งการการเรียนรู้ในรูปแบบอาคารสิ่งปลูกสร้าง อุทยานการเรียนรู้ หรือมุมใดมุมหนึ่งภายในวัด เพื่อจัดแสดงนิทรรศการเสริมสร้างการเรียนรู้แก่คนในชุมชนและบุคคลทั่วไปหรือเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานโบราณวัตถุอันทรงคุณค่าของชุมชน
๑. วัดมีการส่งเสริม พัฒนาระบบการจัดกิจกรรมทางการศึกษา และการเผยแพร่ความรู้ทางพระพุทธศาสนาและภูมิปัญญาแก่พระภิกษุ สามเณร และประชาชน เช่น
- การจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม
- การจัดตั้งศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
- การจัดสอนธรรมศึกษาแก่เด็กนักเรียน
- การจัดตั้งศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด
- การจัดตั้งศูนย์ฝึกอาชีพแก่ประชาชนในวัด
- การจัดสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานแก่ประชาชน ฯลฯ
๓. วัดมีการพัฒนาระบบและจัดสถานที่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร นิทรรศการ ป้ายคติธรรม พุทธภาษิต หรือความรู้ทางวิชาการ ห้องสมุดหรือมุมหนังสือ ป้ายบอกชื่อต้นไม้ และหอกระจายข่าวในวัด และมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของวัดผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ เว็บเพจ เฟซบุ๊ค เป็นต้น เพื่อสร้างกิจกรรมการเรียนรู้และแนวปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนา
๔. เป็นวัดที่มีการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม หรือเอื้อประโยชน์ต่อชุมชน โดยดำเนินการเป็นโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมแก่ประชาชนอย่างน้อย ๑ โครงการ/ปี
๕. การจัดการสิ่งแวดล้อมและบริเวณวัดมีความสะอาด สงบ ร่มรื่น สวยงาม โดยมีการจัดทำแผนผังวัดแสดงพื้นที่บริเวณวัด และอาคารเสนาสนะต่าง ๆ ในวัด และติดตั้งไว้ในบริเวณที่สามารถเห็นได้ชัดเจน เป็นต้น
สำหรับวัดพัฒนาตัวอย่างนั้น มีหลักการสำคัญ คือ
๑. วัดมีการจัดการสิ่งแวดล้อม บริเวณวัด ภูมิสถาปัตยกรรมเป็นสัดส่วน สะอาด สงบ ร่มรื่น สวยงาม อาคารเสนาสนะมั่นคง เป็นระเบียบแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน เขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส และเขตธรณีสงฆ์หรือเขตสาธารณสงเคราะห์ และเป็นวัดที่เข้าร่วมโครงการ วัด ประชา รัฐ สร้างสุข
๒. วัดมีการส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาทั้งในด้านพระปริยัติธรรม พระพุทธศาสนา และภูมิปัญญาแก่พระภิกษุ สามเณร และประชาชน ตลอดจนการสอนฝึกอาชีพแก่ประชาชน โดยมีแนวทางการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมบนพื้นฐานวิถีวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา
๓. วัดมีการส่งเสริมและจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมศีลธรรม จริยธรรม กิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันสำคัญของชาติ สถาบันพระมหากษัตริย์ และวัดตามเทศกาลต่าง ๆ และการจัดกิจกรรมที่เอื้อประโยชน์แก่ชุมชน
๔. วัดที่มีการจัดการปกครองพระภิกษุ สามเณร และศิษย์วัด อย่างมีระเบียบและปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ คำสั่งของมหาเถรสมาคม ที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการ
๕. กิจกรรมการพัฒนาสังคม โดยจัดทำแผนงานหรือโครงการที่ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม หรือเอื้อประโยชน์ต่อชุมชนอย่างน้อย ๒ โครงการ
การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ และธรรมสถานวัฒนธรรมไทย
ตอบลบวัดถ้ำลอดเจริญธรรม ต.เนินมะปราง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก
แนวความคิด แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
ตามคำจำกัดความการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของราชบัณฑิตยสถาน แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศจะหมายรวมถึง แหล่งท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์ทุกแห่งตั้งแต่แหล่งธรรมชาติ โบราณสถาน ไปจนถึงชุมชนท้องถิ่น เพราะฉะนั้นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า อุทยานประวัติศาสตร์ แหล่งโบราณคดี ไปจนถึงชุมชนต่างๆ ที่เปิดให้มีการท่องเที่ยว
วัดถ้ำลอดเจริญธรรม ต.เนินมะปราง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นการท่องเที่ยวที่อาศัยธรรมชาติเป็นฐาน (nature - based tourism ) เช่น แหล่งท่องเที่ยวประเภท อุทยาน วนอุทยาน ภูเขา,ถ้ำ และต้นไม้วิวเขา เป็นต้น แต่อาจหมายรวมถึง ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น ต.เนินมะปราง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก หากสิ่งเหล่านี้ปรากฏอยู่ในหรือเกี่ยวข้องกับระบบนิเวศธรรมชาติ
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นการท่องเที่ยวที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศน้อยหรือต่ำ หรือไม่มีผลกระทบต่อวิถีทางธรรมชาติและวัฒนธรรมท้องถิ่น จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางลบ เพราะฉะนั้นการป้องกันและควบคุมผลกระทบอันเกิดจากการท่องเที่ยว
องค์ประกอบสำคัญที่ควรพิจารณาอยู่ 3 ประการ คือ การสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว และการมีส่วนร่วมของชุมชนการสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติและระบบนิเวศ
กิจกรรมการท่องเที่ยว
วัดถ้ำลอดเจริญธรรม ต.เนินมะปราง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นกิจกรรมที่เอื้อให้เกิดประสบการณ์เรียนรู้แก่นักท่องเที่ยวและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น
1.กิจกรรมการเดินป่า
2.กิจกรรมศึกษาธรรมชาติ
3.กิจกรรมถ่ายรูปธรรมชาติ บันทึกเทปวิดีโอเทปเสียงธรรมชาติ
4.กิจกรรมส่อง/ ดูนก กิจกรรมศึกษา/ เที่ยวถ้ำ ไหว้พระกราบปิดทองลอยพุทธบาทสี่ลอย ที่เกิดขึ้น ในรูปแบบธรรมชาติ และ ถ่ายรูป หงส์ ซึ่งเป็นหินปูน ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ที่สร้างสรรค์มาเมื่อ 300 ล้านปี
5.กิจกรรมชมสวนอุทยานลานพระพุทธปัญญา
6.กิจกรรมให้อาหารลิงป่า จำนวนหลายร้อยตัว
7.กิจกรรมให้อาหารช้างและการอนุรักษ์ช้างไทยตลอดจน การอนุรักษ์ วัวและควายไทย
8.กิจกรรมปั่นจักยาน รอบอุทยาน หรือ อาจเป็น กิจกรรมประเภทตื่นเต้นผจญภัยหรือชื่นชมธรรมชาติ
9.กิจกรรมวิสาหกิจชุมชน อ. เนินมะปราง
10.กิจกรรมการผู้สูงอายุ ธรรมะอนุรักษ์ศิลปะและประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นไทย
การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ และธรรมสถานวัฒนธรรมไทย
วัดถ้ำลอดเจริญธรรม ต.เนินมะปราง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก
ท่าน พระมหากฤชวัฒน์ ปญญาวุโธ ประธานโครงการ
ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ผจก .โครงการและประสานงาน