“นครทานตะวัน” คือเมืองที่ปกครองโดยผู้หญิงหรือสังคมที่สตรีเป็นใหญ่ (มาตาธิปไตย) “นครทานตะวัน” ของ “นางยักษ์สันธมาลา” ซึ่งถูกออกแบบ-จัดวางโครงสร้างเอาไว้เป็นอย่างดี มีระบบระเบียบทั้งในแง่หลักเกณฑ์คุณค่า

“นครทานตะวัน” ของ “นางยักษ์สันธมาลา” ซึ่งถูกออกแบบ-จัดวางโครงสร้างเอาไว้เป็นอย่างดี มีระบบระเบียบทั้งในแง่หลักเกณฑ์คุณค่า-ความเชื่อหรือแนวปฏิบัติอันเป็นนามธรรม และพื้นที่ทางกายภาพอันเป็นรูปธรรม ดังจะขออนุญาตลงรายละเอียดตามนี้ “พระแม่เจ้า” กับ “แม่ย่า” “นครทานตะวัน” คือเมืองที่ปกครองโดยผู้หญิงหรือสังคมที่สตรีเป็นใหญ่ (มาตาธิปไตย) เนื่องจากจุดสูงสุดบนยอดพีระมิดหรือชนชั้นนำผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในเมืองยักษ์แห่งนี้ล้วนเป็นสตรีเพศ ทว่า พวกนางก็คล้ายจะแบ่งหน้าที่และจุดยืนทางการเมืองออกเป็นสองขั้ว ขั้วหนึ่ง คือ “พระแม่เจ้าสันธมาลา” อีกขั้วหนึ่ง คือ “แม่ย่า” “พระแม่เจ้าสันธมาลา” นั้นพำนักอยู่ในปราสาทราชวัง และทำหน้าที่ปกครองดูแลอาณาจักร ขณะที่ผู้เฒ่าเช่น “แม่ย่า” กักตัวบำเพ็ญตนอยู่ในถ้ำ ครั้งหนึ่ง “พระแม่เจ้าสันธมาลา” เคยยกย่องเทิดทูนว่า “แม่ย่า” เป็น “ศูนย์รวมจิตใจ” ของเมือง ขณะเดียวกัน “แม่ย่า” เอง ก็มีความสามารถในการหยั่งรู้เหตุการณ์ต่างๆ จึงอาจแปลความได้ว่า นางยักษ์อาวุโสตนนี้มีอำนาจหน้าที่อยู่ในขอบเขตศาสนจักร ซึ่งเกี่ยวพันกับความเชื่อ-พิธีกรรมต่างๆ ในช่วงแรกๆ “พระแม่เจ้าสันธมาลา” มีลักษณะเป็น “ยักษ์หัวก้าวหน้า” ที่สนับสนุนหลักการไม่กินเนื้อคน/ไม่ฆ่ามนุษย์ ทั้งยังเลี้ยงดูมนุษย์ (เด็กหญิง) จำนวน 12 คน ประหนึ่งลูกแท้ๆ เพราะนางมีความเชื่อว่ายักษ์กับมนุษย์สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้ ตรงกันข้ามกับ “แม่ย่า” ผู้เริ่มปรากฏบทบาทในฐานะ “ยักษ์หัวโบราณ-อนุรักษนิยม” ซึ่งยืนกรานหนักแน่นเรื่องยักษ์และมนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกัน “แม่ย่า” มิได้เคร่งครัดในกฎเกณฑ์ (ที่เพิ่งสร้าง) ที่น่าจะบัญญัติขึ้นโดย “พระแม่เจ้าสันธมาลา” ซึ่งห้ามบรรดายักษ์ใน “นครทานตะวัน” ไม่ให้กินเนื้อมนุษย์โดยเด็ดขาด มิหนำซ้ำนางยังเหมือนจะแอบรู้เห็นเป็นใจกับ “พฤติกรรมต้องห้าม” ที่ขัดขืนกฎระเบียบดังกล่าวด้วย และแน่นอนที่สุด “แม่ย่า” คืออีลิตคนสำคัญที่วางแผนผลักไส “นางสิบสอง” ออกไปจากเมือง ดุลอำนาจระหว่าง “พระแม่เจ้าสันธมาลา” กับ “แม่ย่า” เป็นความสัมพันธ์ที่น่าสนใจ ส่วนใหญ่ “พระแม่เจ้าสันธมาลา” มักเคารพนบนอบและเชื่อฟังคล้อยตามคำแนะนำสั่งสอนของ “แม่ย่า” แต่เวลาโมโหโกรธา เดือดดาล ไม่ได้ดั่งใจ “พระแม่เจ้าฯ” ก็กล้าดุและตวาดใส่ “แม่ย่า” เช่นกัน ดังนั้น หากพูดถึงสายการบังคับบัญชาแนวดิ่งแล้ว อย่างไรเสีย “พระแม่เจ้าสันธมาลา” ก็น่าจะอยู่เหนือกว่า “แม่ย่า” ทว่า แม้ “แม่ย่า” จะมีอำนาจอาญาสิทธิ์ไม่เท่า “พระแม่เจ้าสันธมาลา” แต่นางก็รู้ดีว่าตนเองควรจะเล่นการเมืองเพื่อโน้มน้าวใจ “พระแม่เจ้าฯ” ด้วยวิถีทางเช่นใด? ดังเช่นที่ “แม่ย่า” สามารถแปรความโกรธ-ความผิดหวังที่ “พระแม่เจ้าสันธมาลา” มีต่อการหนีหายของ “นางสิบสอง” ไปเป็นความเกลียดชังคั่งแค้นได้สำเร็จ ขุนนางยักษ์ เมืองต่างๆ ในโลกของละครจักรๆ วงศ์ๆ ย่อมต้องมีตัวละครสมทบเป็นเหล่าเสนาอำมาตย์และคุณท้าวนางกำนัล ขุนนางยักษ์ระดับสูงใน “นครทานตะวัน” มีอยู่ด้วยกันสี่ราย ได้แก่ “วิรุฬ” “จำบัง” “จตุรพักตร์” และ “ทุรโยธน์” อย่างไรก็ตาม ทั้งสี่ตนดูจะมีสถานะอยู่บนแนวระนาบเดียวกัน มิได้ลดหลั่นจากอำมาตย์ลงไปเป็นหมื่นลงไปเป็นหัวหมู่ ดังระบบราชการในเมืองมนุษย์ เส้นแบ่งของยักษ์สี่ตนนี้จึงอยู่ที่ “หน้าที่” ของพวกเขามากกว่า โดย “วิรุฬ-จำบัง” ปฏิบัติหน้าที่เป็นมือซ้าย-ขวาของ “พระแม่เจ้าสันธมาลา” ส่วน “จตุรพักตร์-ทุรโยธน์” ก็เป็นมือไม้ใต้อิทธิพลของ “แม่ย่า” (การทำงานของสองฝ่ายมีขัด-ขบกันเป็นครั้งคราว) นอกจากนั้น พระราชวังใน “นครทานตะวัน” ยังมีนางกำนัล ซึ่งไม่ได้แบ่งแยกยศตำแหน่งระหว่างคุณท้าวกับนางกำนัลทั่วไปแบบพวกมนุษย์ แต่มีนางกำนัลรุ่นใหญ่ที่มีโอกาสรับใช้ใกล้ชิดเจ้านาย เช่น “โขมดทอง” กับ “ขมูทิพย์” เป็นต้น ประชาชนยักษ์ โดยปกติ เวลาจินตนาการถึงตัวละคร “ยักษ์” ในละครจักรๆ วงศ์ๆ เรามักวาดภาพ “อมนุษย์” รูปร่างใหญ่โต ผู้มีฤทธิ์เดชน่าเกรงขาม ซึ่งสามารถเหยียบย่ำ บดขยี้ ฉีกทำลาย และขบเคี้ยว “มนุษย์” ตัวน้อยๆ ได้ชั่วพริบตา มีเพียง “เทวดา” และ “อภิมนุษย์” (ซึ่งส่วนใหญ่คือร่างอวตารของเทพ) เท่านั้นที่สามารถต่อกรและปราบพวก “ยักษ์” ลงได้ มองผ่านแง่มุมข้างต้น “ยักษ์” จึงเป็น “ผู้กระทำ” มากกว่า “ผู้ถูกกระทำ” ขณะเดียวกัน “อมนุษย์” เหล่านี้ก็มีลักษณะเป็นกลุ่มก้อนหนึ่งเดียว ที่มหึมาเหมือนกันไปหมด ประเด็นที่แหวกแนวออกไปใน “นางสิบสอง 2562” คือ มี “ประชาชนยักษ์” ดำรงอยู่ใน “นครทานตะวัน” เมื่อครั้งที่ “พระแม่เจ้าสันธมาลา” รับเด็กหญิงลูกมนุษย์จำนวน 12 ราย มาเลี้ยงดูเป็นพระธิดานั้น นางสั่งการให้ยักษ์ทุกตนในเมืองเลิกประพฤติตัวเป็น “ยักษ์” และให้ใช้ชีวิตประหนึ่ง “มนุษย์” ครั้นพอมนุษย์ 12 นางหนีหาย “พระแม่เจ้าฯ” ก็ระเบิดระบายอารมณ์ ทำลายบ้านเมืองของตนเองเสียย่อยยับ จนเหล่า “ยักษ์เล็กยักษ์น้อย” ใน “นครทานตะวัน” ต่างโดนลูกหลงได้รับบาดเจ็บและต้องหลบภัยกันจ้าละหวั่น ทันใดนั้น “แม่ย่า” จึงปรากฏตัวขึ้น พร้อมเอ่ยปากเตือน “พระแม่เจ้าฯ” ว่า “โน่น! ประชาชนทั้งเมืองที่พระแม่เจ้าเคยบังคับให้เขาอยู่อย่างมนุษย์ เขาทุกข์ทรมานเพราะแรงโมหะของพระแม่เจ้าฯ นะเพคะ” เหตุการณ์ดังกล่าวย้ำเตือนให้เราตระหนักว่าพวก “ยักษ์” ไม่ได้ประกอบด้วย “ยักษ์ใหญ่มีฤทธิ์” เพียงกลุ่มก้อนเดียว หากยังมี “ยักษ์เล็กยักษ์น้อย” หรือ “ประชาชนยักษ์” จำนวนมาก ซึ่งวิถีชีวิตของพวกเขาอาจได้รับผลกระทบจากคำบัญชาและอารมณ์ความรู้สึกของ “ยักษ์ใหญ่” ผู้เป็นชนชั้นปกครอง เวลาเดียวกัน ภาพลักษณ์ย้อนแย้งของ “แม่ย่า” ก็ถูกนำเสนอออกมา กล่าวคือ ด้านหนึ่ง นางเป็น “ยักษ์ฝ่ายขวาสายจารีต” ยามเผชิญหน้ากับมนุษย์ แต่อีกด้าน นางกลับกลายเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ที่ยืนหยัดอยู่เคียงข้าง “ประชาชนยักษ์” ใน “นครทานตะวัน” เครือข่ายและจักรวาล ล้อมรอบ “นครทานตะวัน” “นครทานตะวัน” ไม่ได้โดดเดี่ยวตัดขาดตัวเองจากโลกภายนอก ทว่า มีพันธมิตรหรือเครือข่ายเมืองยักษ์อยู่ไม่น้อย เห็นได้จากสองเจ้าชายยักษ์ต่างเมืองอย่าง “สุรฤทธิ์” กับ “สุรกาศ” ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานอาของ “พระแม่เจ้าสันธมาลา” และถูกเชื้อเชิญมาให้เลือกใครบางคนในกลุ่ม “นางสิบสอง” ไปเป็นคู่ครอง ก่อนที่พญายักษ์คู่นี้จะพยายามช่วยเหลือมนุษย์ 12 นาง จากเงื้อมมือเสด็จอา หรือเมื่อ “พระแม่เจ้าสันธมาลา” กำลังปั่นป่วนใจจากการสูญเสียลูกสาวบุญธรรมกลุ่มใหญ่ “แม่ย่า” ก็แอบส่ง “จตุรพักตร์” ไปขอตัว “เมรี” จาก “นครพันธุรัต” เพื่อนำมาผูกใจ “พระแม่เจ้าฯ” ทดแทนเหล่า “นางสิบสอง” ไม่ใช่แค่ความสัมพันธ์กับเครือข่ายเมืองยักษ์ข้างต้น ทว่า “นครทานตะวัน” ยังเป็นส่วนเสี้ยวหนึ่งของจักรวาลที่กว้างขวาง หลากหลาย และซับซ้อนกว่านั้น คราใดก็ตาม ที่บรรดา “ยักษ์” จะข้ามเขตแดนเข้าสู่ “เมืองมนุษย์” พวกเขาต้องได้รับอนุญาตจากเทวดาผู้ปกปักรักษาพื้นที่ และยืนยันถึงเจตนาบริสุทธิ์ของพวกตนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์เสียก่อน ในจักรวาลอันไพศาลดังกล่าว แม้ “นครทานตะวัน” จะไม่ได้มีตัวตนหรือรูปร่างทางภูมิศาสตร์ที่ปรากฏชัดเจนเป็นรูปธรรม (“ภูมิกายา”) อยู่บนแผนที่ใดๆ แต่พรมแดนที่ขีดคั่น “เมืองยักษ์” แห่งนี้กับ “โลกมนุษย์” ก็ดำรงอยู่อย่างจับต้องได้ เช่นเดียวกับกฎกติกามารยาทร่วมกันระหว่างอมนุษย์ มนุษย์ ตลอดจนเทวดา อย่างไรก็ดี โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสรรพชีวิต ซึ่งปรากฏผ่านเขตแดนและกฎเกณฑ์ที่ว่า กลับผันแปรไปไม่เหมือนเดิม หลังจาก “พระแม่เจ้าสันธมาลา” ตัดสินใจปลอมแปลงกายและปกปิดเจตนารมณ์เลวร้าย เพื่อสัญจรข้ามมายัง “เมืองมนุษย์” พร้อมกันนั้น “พาลเทพ” เทพผู้มีเหตุขุ่นข้องหมองใจกับ “เศรษฐีนนท์” บิดาของ “นางสิบสอง” มาเนิ่นนาน ก็ได้เข้าไปแปลงสาร/กล่าวเท็จใส่หูเทวดารักษาเขตแดน เป็นการลอบช่วยเหลือสนับสนุนนางยักษ์อีกหนึ่งแรง มหกรรมไล่ล่าล้างแค้น ความพินาศวอดวาย และโศกนาฏกรรม จึงบังเกิดขึ้น

ความคิดเห็น

  1. “นครทานตะวัน” ของ “นางยักษ์สันธมาลา”
    ซึ่งถูกออกแบบ-จัดวางโครงสร้างเอาไว้เป็นอย่างดี มีระบบระเบียบทั้งในแง่หลักเกณฑ์คุณค่า

    ตอบลบ
  2. “นครทานตะวัน” คือเมืองที่ปกครองโดยผู้หญิงหรือสังคมที่สตรีเป็นใหญ่ (มาตาธิปไตย) เนื่องจากจุดสูงสุดบนยอดพีระมิดหรือชนชั้นนำผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในเมืองยักษ์แห่งนี้ล้วนเป็นสตรีเพศ ทว่า พวกนางก็คล้ายจะแบ่งหน้าที่และจุดยืนทางการเมืองออกเป็นสองขั้ว ขั้วหนึ่ง คือ “พระแม่เจ้าสันธมาลา” อีกขั้วหนึ่ง คือ “แม่ย่า”

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น