ประวัติ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นวีรบุรุษแห่งตะเลงพ่าย หรือผู้ชนะมอญ

สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นวีรบุรุษแห่งตะเลงพ่าย หรือผู้ชนะมอญ ชาวไทยให้ความเคารพพระองค์อย่างสูงสุดและยกย่องพระองค์ว่าเป็นกษัตริย์ยอดนักรบ พระองค์ทรงเป็นพระโอรสของพระมหาธรรมราชา ทรงมีพระภคินีพระนามว่า เจ้าหญิงสุพรรณเทวี ( สุพรรณกัลยาณี ) และพระอนุชาพระนามว่า พระเอกาทศรถ ผู้ซึ่งต่อสู้ข้าศึกเคียงบ่าเคียงไหล่กับพระนเรศวรตลอดมา พระนเรศวรเองบางครั้งทรงได้รับขนานนามว่าพระองค์ดำ และขนานนามว่าพระเอกาทศรถว่าพระองค์ขาว เมื่อยังทรงพระเยาว์ พระองค์ถูกนำตัวไปยังกรุงหงสาวดีโดยพระเจ้าบุเรงนอง หรือเป็นที่รู้จักกันว่า "ผู้ชนะสิบทิศ" ผู้ซึ่งแต่งตั้งให้พระมหาธรรมราชาปกครองกรุงศรีอยุธยาสืบไป พระนเรศวรถูกกักตัวไว้เป็นตัวประกันในพม่าเป็นเวลานาน 9 ปี ครั้นพระชันษาได้ 16 ปี พระราชบิดาจึงขอตัวกลับมาและส่งให้ไปเป็นมหาอุปราชเมืองพิษณุโลก มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระองค์ว่าเมื่อยังทรงพระเยาว์ในขณะที่พระองค์ถูกกักตัวไว้เป็นตัวประกันในพม่า อยู่มาวันหนึ่งพระองค์ได้เข้าร่วมการแข่งขันตีไก่กับพวกเจ้าชายพม่า ปรากฏว่าไก่ของพระองค์ชนะการแข่งขัน ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับกษัตริย์พม่าจนถึงกับตรัสออกมาว่า "ไก่เชลยนี้ตีเก่งจริง" พระนเรศวรจึงตอบทันทีว่า "ไก่เชลยตัวนี้ไม่ใช่แค่เพียงตีเพื่อการพนันเท่านั้น แต่ยังสามารถตีเอาบ้านเอาเมืองกันยังได้" ซึ่งนี่ก็แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงตระหนักอยู่เสมอในความเป็นตัวประกันและประสงค์ที่จะปลดปล่อยให้อยุธยาเป็นอิสระอยู่เสมอ โชคดีที่ว่า พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2124 ผู้ที่สืบบัลลังก์แทนพระองค์คือ พระเจ้านันทะบุเรงนอง ผู้ซึ่งไม่เข้มแข็งพอจนเมืองขึ้นหลายเมืองก่อการกบฏ รวมทั้งเมืองมอญที่ตั้งอยู่บนเนินเขาชื่อว่า เมืองคัง เจ้าชายทั้งสามพระองค์ผลัดกันเข้าโจมตี ถึงแม้จะได้รับมอบหมาย จากกษัตริย์พม่าให้เป็นผู้โจมตีองค์สุดท้าย แต่พระนเรศวรก็สามารถเข้ายึดเมืองนี้ไว้ได้ ผลปรากฏว่าจากการรบครั้งนั้นกษัตริย์พม่าเกิดความหวาดกลัวระแวงในความกล้าหาญและความชาญฉลาดของพระองค์และเตรียมแผนการนี้จากพระยามอญทั้งสองพระนเรศวรจึงประกาศอิสรภาพและเตรียมต้านทานการบุกของพม่าอย่างเต็มที่ พระนเรศวรขึ้นครองราชย์เมื่อพระราชบิดาสวรรคตในปี พ.ศ. 2133 อย่างไรก็ตามในช่วงการปกครองของพระเจ้านันทบุเรงนี้กรุงศรีอยุธยาถูกรุกราน 5 ครั้งด้วยกัน กล่าวคือการเริ่มรุกรานครั้งที่หนึ่งและสองภายใต้การนำของพระโอรสของพระองค์ พระนามว่าพระมหาอุปราช ครั้งที่ 3 พระเจ้านันทะบุเรงทรงนำทัพมาด้วยพระองค์เอง ส่วนครั้งที่ 4 และ 5 นั้นพระมหาอุปราชทรงนำทัพมาอีกเช่นกันและในการรุกรานครั้งที่ 5 นี่เองที่เป็นการรุกรานครั้งสุดท้ายซึ่งทำให้พระมหาอุปราชถูกปลงพระชนม์ โดยสมเด็จพระนเรศวร ในสงครามยุทธหัตถี ในปี พ.ศ. 2135 ที่หนองสาหร่ายจังหวัดสุพรรณบุรี การรบครั้งนี้ทำให้พระองค์ได้รับชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ สมเด็จพระนเรศวรไม่เคยทรงเลิกล้มที่จะเอาชนะพม่าให้ได้ถ้าหากว่าพระองค์ทรงมีพระชนมายุยืนยาวกว่านี้พระองค์อาจจะนำเอาดินแดนทั้งหมดมาอยู่ภายใต้การปกครองของพระองค์ได้และพม่าก็อาจจะเอาชนะอยุธยาไม่ได้ และในขณะที่ทรงนำทัพไปเมืองตองอู พระองค์ก็ทรงประชวรอย่างกะทันหันที่เมืองลำปาง และประชวรหนักจนสวรรคตเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2148 พระเจ้าเอกาทศรถพระอนุชาได้นำพระบรมศพพระเชษฐากลับเพื่อประกอบพระราชพิธีและเสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเชษฐาสืบมา สำหรับคนไทยแล้ว สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นวีรบุรุษที่ทุกคนในชาติให้ความเคารพเหนือสิ่งอื่นใด ดังนั้นทุก ๆ ปีในช่วงวันที่ 25 มกราคม ที่จังหวัดสุพรรณบุรีจะมีงานอนุสรณ์ดอนเจดีย์เป็นหลายวัน เพื่อเป็นการรำลึกถึงชัยชนะของพระองค์ต่อพม่า ที่มา: หนังสือเรื่องราวต่าง ๆเกี่ยวกับประเทศไทยของธนพล จาดใจดี

ความคิดเห็น

  1. สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นวีรบุรุษแห่งตะเลงพ่าย หรือผู้ชนะมอญ

    ตอบลบ
  2. สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นวีรบุรุษแห่งตะเลงพ่าย หรือผู้ชนะมอญ ชาวไทยให้ความเคารพพระองค์อย่างสูงสุดและยกย่องพระองค์ว่าเป็นกษัตริย์ยอดนักรบ พระองค์ทรงเป็นพระโอรสของพระมหาธรรมราชา ทรงมีพระภคินีพระนามว่า เจ้าหญิงสุพรรณเทวี ( สุพรรณกัลยาณี ) และพระอนุชาพระนามว่า พระเอกาทศรถ ผู้ซึ่งต่อสู้ข้าศึกเคียงบ่าเคียงไหล่กับพระนเรศวรตลอดมา พระนเรศวรเองบางครั้งทรงได้รับขนานนามว่าพระองค์ดำ และขนานนามว่าพระเอกาทศรถว่าพระองค์ขาว เมื่อยังทรงพระเยาว์ พระองค์ถูกนำตัวไปยังกรุงหงสาวดีโดยพระเจ้าบุเรงนอง หรือเป็นที่รู้จักกันว่า "ผู้ชนะสิบทิศ" ผู้ซึ่งแต่งตั้งให้พระมหาธรรมราชาปกครองกรุงศรีอยุธยาสืบไป

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น