ข่าว ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ท้องถิ่น-ไทย โครงการออกแบบก่อสร้างกระเช้าลอยฟ้าภูกระดึง จังหวัดเลย (กรณีศึกษา งารโครงการกระเช้าลอยฟ้า)

< /div> โครงการออกแบบก่อสร้างกระเช้าลอยฟ้าภูกระดึง จังหวัดเลย เรื่อง : ฐิติพันธ์ พัฒนมงคล จาก นิตยสาร สารคดี ฉบับที่ 360 กุมภาพันธ์ 2558 แต่งภาพจากเว็บ : unsplash และ freepik โครงการออกแบบก่อสร้างกระเช้าลอยฟ้าภูกระดึง จังหวัดเลย ได้ถูกนำกลับมาพิจารณาอีกครั้งจากการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่(ครม.สัญจร) ที่จังหวัดหนองบัวลำภู ในวันที่ 4 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมาโดยจังหวัดเลยมีการเสนอโครงการนี้ขึ้น โดยเบื้องต้นได้อนุมัติในหลักการเพื่อนำไปเรียงลำดับพิจารณาความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณ และในรายละเอียดโครงการ มีการเสนอให้ออกแบบการก่อสร้างที่ใช้งบประมาณ 28 ล้านบาท นำไปประกอบการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ต้องการให้มีการสร้างโครงการกระเช้าลอยฟ้าที่สร้างรายได้ในพื้นที่ และสร้างรายได้เข้าจังหวัด ขณะเดียวกันก็มีการทำ EIA มาแล้วหลายครั้ง จึงขอนำบทความจากปี พ.ศ.2558 เกี่ยวกับโครงการกระเช้าขึ้นภูกระดึงให้เห็นที่มาที่ไปในอดีตอีกครั้ง ภูเขายอดตัดนาม “ภูกระดึง” ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่ 2 ของประเทศไทย ตั้งอยู่ในอำเภอภูกระดึงตอนใต้จังหวัดเลย ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของภูเขางามแห่งเมืองเลยนี้เป็นภูเขาหินทราย มียอดตัดด้านบนเกือบแบนราบ ทางขึ้นลาดชัดรอบด้านเส้นทางที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินขึ้นภูกระดึงเริ่มที่ตำบลศรีฐาน ผ่านซำต่างๆ ในป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา สู่ป่าสนเขาและทุ่งหญ้าที่หน้าแปบนยอดภู ระยะทางส่วนนี้ประมาณ 6 กิโลเมตร บางช่วงตั้งชันเกือบ 90 องศา จากนั้นต้องเดินเท้าบนยอดภูอีกประมาณ 3 กิโลเมตรถึงที่ทำการอุทยานฯ และลานกางเต็นท์ รวมเวลาที่คนแข็งแรงคนหนึ่งจะใช้เวลา “พิชิตภูกระดึง” เฉลี่ย 5-6 ชั่วโมงหรือครึ่งวัน และเนื่องจากต้องพักแรมบนยอดภู นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จึงมักไปวันหยุดยาวหรือวันเสาร์-อาทิตย์ จุดท่องเที่ยวทางธรรมชาติของภูกระดึงกระจายทั่วบนยอดภูทั้งจุดชมวิวพระอาทิตย์ขึ้น พระอาทิตย์ตก น้ำตก ดงสน หน้าผา บางแห่งไกลจากที่พักมาก ต้องเดินเท้าเท่านั้น ไม่มีพาหนะอำนวยความสะดวก ความยากลำบากนี้ทำให้นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาว แต่ก็มีคนแก่อายุ 82 ปี หรือเด็กอายุ 6-7 ขวบพิชิตภูกระดึง แนวคิดสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึงเกิดขึ้นเมื่อ 30 ปีก่อน คือปี 2527 ครั้งแรกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นผู้จัดทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) แต่ก็ถูกนักอนุรักษ์และผู้เสียประโยชน์คัดค้านจนโครงการตกไป ต่อมามีการรื้อฟื้นโครงการขึ้นในปี 2541 บริษัททีมคอนซัลแตนท์จำกัด เป็นผู้จัดทำรายงานอีไอเอ ใช้เวลา 2 ปีก็สรุปผลว่าให้สร้างกระเช้าตามแนวเส้นทางที่นักท่องเที่ยวใช้เดินขึ้นภูกระดึงแม้สภาพผืนป่าเส้นทางนี้จะมีความหลากหลาย จำนวนสัตว์ป่ามากหากเกิดโครงการจะส่งผลกระทบมหาศาลต่อธรรมชาติแต่มีข้อได้เปรียบกว่าทางเลือกอื่น คือ 1) ระยะทางสั้น และ 2) เหมาะแก่การจัดการท่องเที่ยว จากที่ได้คะแนนรั้งท้ายเรื่องระบบนิเวศธรรมชาติแต่ด้วยเหตุผลสองข้อดังกล่าวซึ่งได้คะแนนมากกว่าจึงชนะอีกสองทางเลือก อย่างไรก็ตามโครงการกระเช้าขึ้นภูกระดึงก็พับไป จนกระทั่งวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2557 ได้รับการปัดฝุ่นครั้งใหม่เมื่อคณะรัฐมนตรีสัญจรจังหวัดอุดรธานีรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เห็นชอบให้มีการแก้ไขเศรษฐกิจในภูมิภาคตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) จึงว่าจ้างศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างกระเช้าขึ้นภูกระดึง คำตอบ ? A: กระเช้าขึ้นภูกระดึงมีระยะทาง 3,675 เมตร มีเสา 16 ต้น สูงพ้นแนวเรือนยอดไม้ พื้นที่เสาทั้งหมดทำให้ต้องถางป่า 3.65 ไร่ แต่ไม่ถางป่าตามแนวกระเช้า การก่อสร้างใช้วิธีหย่อนเสาลงด้วยเฮลิคอปเตอร์ ไม่มีการตัดถนนเพื่อลำเลียงวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง A: นอกจากนี้จะสร้างศูนย์ศึกษาเรียนรู้ทางธรรมชาติบนยอดภู ใกล้สถานีะกระเช้าที่หน้าแป ตามแผนจะคิดแพ็กเกจราคาขึ้นลงกระเช้ารวมกับค่าเข้าชมศูนย์ฯ แบบเหมา 500 บาท ขณะค่าขึ้นลงอยู่ที่ 200 บาทต่อเที่ยว ซึ่งน่าจะเป็นรายได้หลักของโครงการ A: ค่าก่อสร้างกระเช้า 596.8 ล้านบาท ค่าดำเนินการและบำรุงรักษาปีละ 31.4 ล้านบาท ค่าดูแลสิ่งแวดล้อมปีละ 3.5 ล้านบาท และค่าเสียโอกาสของลูกหาบปีละ 4 ล้านบาท รายได้มีสามทางหลัก คิดมูลค่าในปี 2569 ซึ่งนับเป็นปีที่ 10 ของโครงการ (หากเกิดขึ้นจริง) จะมีรายได้จากค่าขึ้นลงกระเช้า 28.76 ล้านบาท ร้านค้า 11.94 ล้านบาท ค่าเข้าชมศูนย์ศึกษาเรียนรู้ทางธรรมชาติ 32.42 ล้านบาท รายได้ทางอ้อมจากการเติบโตด้านเศรษฐกิจรอบพื้นที่ 94.23 ล้านบาท และส่วนเกินของผู้บริโภค 21.24 ล้านบาท รวมรายได้ในปี 2569 มีมูลค่า 188.59 ล้านบาท หมายความว่าโครงการนี้น่าจะสร้างความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจต่อการลงทุนได้ไม่ยาก A : ภูกระดึงเปิดให้นักท่องเที่ยวขึ้นเฉพาะช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤษภาคม การปิดบริการฤดูฝนเพราะขึ้นลงลำบากและเพื่อให้ธรรมชาติฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว A : ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวขึ้นภูกระดึงปีละประมาณ 62,000 คน คิดเป็นวันเสาร์-อาทิตย์ประมาณ 1,000 คน วันหยุดยาว 3,000 คน ค่าเฉลี่ยทั้งปี 172 คนต่อวัน A : ในการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดลเมื่อปี 2537 ระบุว่าภูกระดึงสามารถรองรับนักท่องเที่ยววันละ 1,500 คน ด้าน บจ.ทีมคอนซัลแตนท์ระบุว่า รองรับได้วันละ 1,925 คนหากไม่มีกระเช้า กรณีมีกระเช้ารองรับได้ 4,425 คน ส่วนโครงการปัจจุบันตั้งเป้าไว้ราววันละ 700 คน หรือ 253,500 คนต่อปีเพิ่มขึ้นจากเดิมสี่เท่า คำถาม ? Q : ความสามารถรองรับนักท่องเที่ยวของภูกระดึงอยู่บริเวณใด กระเช้าท่องเที่ยวในต่างประเทศส่วนใหญ่จัดให้คนที่ขึ้นไปอยู่ในพื้นที่แคบๆ ตามกำหนด ไม่ได้ปล่อยให้เดินทั่วหรือค้างคืนเหมือนภูกระดึง Q : จุดท่องเที่ยวบนภูกระดึงอยู่ไกลกัน ยกตัวอย่างผาหล่มสักมีระยะทาง 9 กิโลเมตรจากที่พัก ผู้สูงอายุขึ้นไปถึงยอดภูด้วยกระเช้าแล้วไม่น่าจะเดินเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ได้จึงเกิดคำถามว่าจะมีอะไรอุบัติขึ้นต่อไป มีแผนตัดถนนหรือรถรับส่งตามจุดท่องเที่ยวหรือไม่ Q : ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ทางธรรมชาติไม่รวมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการกระเช้า แต่ผลประโยชน์กลับถูกนับรวม ค่าเข้าชมศูนย์ฯ 100 บาทนับว่าสูงเมื่อเทียบกับค่าเข้าชมพิพิธภัณฑ์ขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติที่รังสิตคลอง 5 ทั้งสามแห่ง หรือค่าเข้าชมสวนสัตว์ดุสิตในราคาผู้ใหญ่ ศูนย์ฯ บนยอดภูกระดึงก็น่าจะมีขนาดใหญ่โตพอสมควรจนอาจต้องทำรายงานอีไอเอแยกอีกฉบับ Q : กิจกรรมการมีส่วนร่วมและการประชาสัมพันธ์ที่ผ่านมาผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นผู้นำ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่แท้จริง การประชุมสัมมนาบางครั้งก็ไม่มีผลการศึกษาอย่างน่าคลางแคลงใจ ใน 1 วันกลุ่มผู้ศึกษายังต้องประชาสัมพันธ์โครงการหลายทีมเพราะงานเริ่มในวันเวลาเดียวกัน เช่นวันที่ 3 มีนาคม 2557 เวลา 09.00 น. ต้องประชาสัมพันธ์ถึงสี่อำเภอข้อมูลในรายงานสับสน คลาดเคลื่อน เนื้อความบางส่วนบอกว่าเป็นความคิดเห็นนักท่องเที่ยว แต่สถานภาพผู้ร่วมประชุมเป็นหน่วยงานราชการ นั่นหมายความว่าคนในหน่วยงานราชการมาเที่ยวภูกระดึงหรือ? บางส่วนบอกว่านักท่องเที่ยวเคยร่วมประชุมโครงการกระเช้าไฟฟ้าร้อยละ 92.89 ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้เพราะนักท่องเที่ยวจากที่อื่นจะเข้าร่วมประชุมได้อย่างไร? Q : ข้อมูลในภาคผนวกของรายงานอาจผิดพลาด เนื่องจากระบุว่า มีต้นนางคำ รวมถึงเตยหนามพันธุ์ไม้ภาคใต้อีกทั้งเมี่ยงหรือยางกราบก็ไม่พบในพื้นที่ แต่กลับมีในรายงาน ในตารางสัตว์ป่าระบุว่า พบเสือโคร่ง กระทิง นกกระเรียน ทั้งที่ไม่พบในป่านี้นานแล้ว คาดว่าข้อมูลหลายอย่างคัดลอกจากรายงานฉบับเก่าๆ ใช่หรือไม่ Q : ผู้สนับสนุนโครงการอ้างว่ากระเช้าจะช่วยขนขยะและของเสียจากยอดภูลงมาข้างล่าง แต่ในมาตรการจัดการขยะมูลฝอยบอกว่าให้ใช้พื้นที่ 30 ไร่บริเวณศูนย์บริการวังกวางซึ่งตั้งอยู่บนภูกระดึงเป็นสถานที่ฝังกลบ Q : ก่อนหน้านี้เคยเกิดหินผาถล่มช่วงฤดูฝนจนนักท่องเที่ยวเสียชีวิต ปี 2549 พบดินแยกบนทางเดินจากหน่วยพิทักษ์ป่าไปผาหล่มสัก เหตุใดข้อมูลสำคัญเหล่านั้นจึงไม่มีการเสนอในรายงาน Q : หน้าที่หลักของอุทยานแห่งชาติคืออนุรักษ์ธรรมชาติให้คงอยู่ในสภาพเดิมใช่หรือไม่ การใช้ประโยชน์พื้นที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวนั้นเป็นหน้าที่รองลงมา และไม่มีข้อใดระบุว่าเป็นไปเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ เมื่อสร้างกระเช้าด้วยเงินลงทุนมหาศาลนายทุนจะเว้นช่วงหยุดบริการกระเช้าเพื่อให้ธรรมชาติพักฟื้นหรือไม่

ความคิดเห็น


  1. โครงการออกแบบก่อสร้างกระเช้าลอยฟ้าภูกระดึง จังหวัดเลย

    เรื่อง : ฐิติพันธ์ พัฒนมงคล
    จาก นิตยสาร สารคดี ฉบับที่ 360 กุมภาพันธ์ 2558
    แต่งภาพจากเว็บ : unsplash และ freepik
    โครงการออกแบบก่อสร้างกระเช้าลอยฟ้าภูกระดึง จังหวัดเลย ได้ถูกนำกลับมาพิจารณาอีกครั้งจากการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่(ครม.สัญจร) ที่จังหวัดหนองบัวลำภู ในวันที่ 4 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมาโดยจังหวัดเลยมีการเสนอโครงการนี้ขึ้น โดยเบื้องต้นได้อนุมัติในหลักการเพื่อนำไปเรียงลำดับพิจารณาความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณ และในรายละเอียดโครงการ มีการเสนอให้ออกแบบการก่อสร้างที่ใช้งบประมาณ 28 ล้านบาท นำไปประกอบการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ต้องการให้มีการสร้างโครงการกระเช้าลอยฟ้าที่สร้างรายได้ในพื้นที่ และสร้างรายได้เข้าจังหวัด ขณะเดียวกันก็มีการทำ EIA มาแล้วหลายครั้ง
    จึงขอนำบทความจากปี พ.ศ.2558 เกี่ยวกับโครงการกระเช้าขึ้นภูกระดึงให้เห็นที่มาที่ไปในอดีตอีกครั้ง

    ภูเขายอดตัดนาม “ภูกระดึง” ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่ 2 ของประเทศไทย ตั้งอยู่ในอำเภอภูกระดึงตอนใต้จังหวัดเลย
    ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของภูเขางามแห่งเมืองเลยนี้เป็นภูเขาหินทราย มียอดตัดด้านบนเกือบแบนราบ ทางขึ้นลาดชัดรอบด้านเส้นทางที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินขึ้นภูกระดึงเริ่มที่ตำบลศรีฐาน ผ่านซำต่างๆ ในป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา สู่ป่าสนเขาและทุ่งหญ้าที่หน้าแปบนยอดภู ระยะทางส่วนนี้ประมาณ 6 กิโลเมตร บางช่วงตั้งชันเกือบ 90 องศา จากนั้นต้องเดินเท้าบนยอดภูอีกประมาณ 3 กิโลเมตรถึงที่ทำการอุทยานฯ และลานกางเต็นท์ รวมเวลาที่คนแข็งแรงคนหนึ่งจะใช้เวลา “พิชิตภูกระดึง” เฉลี่ย 5-6 ชั่วโมงหรือครึ่งวัน และเนื่องจากต้องพักแรมบนยอดภู นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จึงมักไปวันหยุดยาวหรือวันเสาร์-อาทิตย์
    จุดท่องเที่ยวทางธรรมชาติของภูกระดึงกระจายทั่วบนยอดภูทั้งจุดชมวิวพระอาทิตย์ขึ้น พระอาทิตย์ตก น้ำตก ดงสน หน้าผา บางแห่งไกลจากที่พักมาก ต้องเดินเท้าเท่านั้น ไม่มีพาหนะอำนวยความสะดวก ความยากลำบากนี้ทำให้นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาว แต่ก็มีคนแก่อายุ 82 ปี หรือเด็กอายุ 6-7 ขวบพิชิตภูกระดึง
    แนวคิดสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึงเกิดขึ้นเมื่อ 30 ปีก่อน คือปี 2527 ครั้งแรกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นผู้จัดทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) แต่ก็ถูกนักอนุรักษ์และผู้เสียประโยชน์คัดค้านจนโครงการตกไป ต่อมามีการรื้อฟื้นโครงการขึ้นในปี 2541 บริษัททีมคอนซัลแตนท์จำกัด เป็นผู้จัดทำรายงานอีไอเอ ใช้เวลา 2 ปีก็สรุปผลว่าให้สร้างกระเช้าตามแนวเส้นทางที่นักท่องเที่ยวใช้เดินขึ้นภูกระดึงแม้สภาพผืนป่าเส้นทางนี้จะมีความหลากหลาย จำนวนสัตว์ป่ามากหากเกิดโครงการจะส่งผลกระทบมหาศาลต่อธรรมชาติแต่มีข้อได้เปรียบกว่าทางเลือกอื่น คือ 1) ระยะทางสั้น และ 2) เหมาะแก่การจัดการท่องเที่ยว จากที่ได้คะแนนรั้งท้ายเรื่องระบบนิเวศธรรมชาติแต่ด้วยเหตุผลสองข้อดังกล่าวซึ่งได้คะแนนมากกว่าจึงชนะอีกสองทางเลือก
    อย่างไรก็ตามโครงการกระเช้าขึ้นภูกระดึงก็พับไป จนกระทั่งวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2557 ได้รับการปัดฝุ่นครั้งใหม่เมื่อคณะรัฐมนตรีสัญจรจังหวัดอุดรธานีรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เห็นชอบให้มีการแก้ไขเศรษฐกิจในภูมิภาคตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) จึงว่าจ้างศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างกระเช้าขึ้นภูกระดึง
    คำตอบ ?

    ตอบลบ

  2. คำตอบ ?
    A: กระเช้าขึ้นภูกระดึงมีระยะทาง 3,675 เมตร มีเสา 16 ต้น สูงพ้นแนวเรือนยอดไม้ พื้นที่เสาทั้งหมดทำให้ต้องถางป่า 3.65 ไร่ แต่ไม่ถางป่าตามแนวกระเช้า การก่อสร้างใช้วิธีหย่อนเสาลงด้วยเฮลิคอปเตอร์ ไม่มีการตัดถนนเพื่อลำเลียงวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง
    A: นอกจากนี้จะสร้างศูนย์ศึกษาเรียนรู้ทางธรรมชาติบนยอดภู ใกล้สถานีะกระเช้าที่หน้าแป ตามแผนจะคิดแพ็กเกจราคาขึ้นลงกระเช้ารวมกับค่าเข้าชมศูนย์ฯ แบบเหมา 500 บาท ขณะค่าขึ้นลงอยู่ที่ 200 บาทต่อเที่ยว ซึ่งน่าจะเป็นรายได้หลักของโครงการ
    A: ค่าก่อสร้างกระเช้า 596.8 ล้านบาท ค่าดำเนินการและบำรุงรักษาปีละ 31.4 ล้านบาท ค่าดูแลสิ่งแวดล้อมปีละ 3.5 ล้านบาท และค่าเสียโอกาสของลูกหาบปีละ 4 ล้านบาท
    รายได้มีสามทางหลัก คิดมูลค่าในปี 2569 ซึ่งนับเป็นปีที่ 10 ของโครงการ (หากเกิดขึ้นจริง) จะมีรายได้จากค่าขึ้นลงกระเช้า 28.76 ล้านบาท ร้านค้า 11.94 ล้านบาท ค่าเข้าชมศูนย์ศึกษาเรียนรู้ทางธรรมชาติ 32.42 ล้านบาท รายได้ทางอ้อมจากการเติบโตด้านเศรษฐกิจรอบพื้นที่ 94.23 ล้านบาท และส่วนเกินของผู้บริโภค 21.24 ล้านบาท รวมรายได้ในปี 2569 มีมูลค่า 188.59 ล้านบาท หมายความว่าโครงการนี้น่าจะสร้างความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจต่อการลงทุนได้ไม่ยาก
    A : ภูกระดึงเปิดให้นักท่องเที่ยวขึ้นเฉพาะช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤษภาคม การปิดบริการฤดูฝนเพราะขึ้นลงลำบากและเพื่อให้ธรรมชาติฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว
    A : ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวขึ้นภูกระดึงปีละประมาณ 62,000 คน คิดเป็นวันเสาร์-อาทิตย์ประมาณ 1,000 คน วันหยุดยาว 3,000 คน ค่าเฉลี่ยทั้งปี 172 คนต่อวัน
    A : ในการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดลเมื่อปี 2537 ระบุว่าภูกระดึงสามารถรองรับนักท่องเที่ยววันละ 1,500 คน ด้าน บจ.ทีมคอนซัลแตนท์ระบุว่า รองรับได้วันละ 1,925 คนหากไม่มีกระเช้า กรณีมีกระเช้ารองรับได้ 4,425 คน ส่วนโครงการปัจจุบันตั้งเป้าไว้ราววันละ 700 คน หรือ 253,500 คนต่อปีเพิ่มขึ้นจากเดิมสี่เท่า
    คำถาม ?
    Q : ความสามารถรองรับนักท่องเที่ยวของภูกระดึงอยู่บริเวณใด กระเช้าท่องเที่ยวในต่างประเทศส่วนใหญ่จัดให้คนที่ขึ้นไปอยู่ในพื้นที่แคบๆ ตามกำหนด ไม่ได้ปล่อยให้เดินทั่วหรือค้างคืนเหมือนภูกระดึง
    Q : จุดท่องเที่ยวบนภูกระดึงอยู่ไกลกัน ยกตัวอย่างผาหล่มสักมีระยะทาง 9 กิโลเมตรจากที่พัก ผู้สูงอายุขึ้นไปถึงยอดภูด้วยกระเช้าแล้วไม่น่าจะเดินเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ได้จึงเกิดคำถามว่าจะมีอะไรอุบัติขึ้นต่อไป มีแผนตัดถนนหรือรถรับส่งตามจุดท่องเที่ยวหรือไม่
    Q : ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ทางธรรมชาติไม่รวมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการกระเช้า แต่ผลประโยชน์กลับถูกนับรวม ค่าเข้าชมศูนย์ฯ 100 บาทนับว่าสูงเมื่อเทียบกับค่าเข้าชมพิพิธภัณฑ์ขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติที่รังสิตคลอง 5 ทั้งสามแห่ง หรือค่าเข้าชมสวนสัตว์ดุสิตในราคาผู้ใหญ่ ศูนย์ฯ บนยอดภูกระดึงก็น่าจะมีขนาดใหญ่โตพอสมควรจนอาจต้องทำรายงานอีไอเอแยกอีกฉบับ
    Q : กิจกรรมการมีส่วนร่วมและการประชาสัมพันธ์ที่ผ่านมาผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นผู้นำ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่แท้จริง การประชุมสัมมนาบางครั้งก็ไม่มีผลการศึกษาอย่างน่าคลางแคลงใจ ใน 1 วันกลุ่มผู้ศึกษายังต้องประชาสัมพันธ์โครงการหลายทีมเพราะงานเริ่มในวันเวลาเดียวกัน เช่นวันที่ 3 มีนาคม 2557 เวลา 09.00 น. ต้องประชาสัมพันธ์ถึงสี่อำเภอข้อมูลในรายงานสับสน คลาดเคลื่อน เนื้อความบางส่วนบอกว่าเป็นความคิดเห็นนักท่องเที่ยว แต่สถานภาพผู้ร่วมประชุมเป็นหน่วยงานราชการ นั่นหมายความว่าคนในหน่วยงานราชการมาเที่ยวภูกระดึงหรือ? บางส่วนบอกว่านักท่องเที่ยวเคยร่วมประชุมโครงการกระเช้าไฟฟ้าร้อยละ 92.89 ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้เพราะนักท่องเที่ยวจากที่อื่นจะเข้าร่วมประชุมได้อย่างไร?
    Q : ข้อมูลในภาคผนวกของรายงานอาจผิดพลาด เนื่องจากระบุว่า มีต้นนางคำ รวมถึงเตยหนามพันธุ์ไม้ภาคใต้อีกทั้งเมี่ยงหรือยางกราบก็ไม่พบในพื้นที่ แต่กลับมีในรายงาน ในตารางสัตว์ป่าระบุว่า พบเสือโคร่ง กระทิง นกกระเรียน ทั้งที่ไม่พบในป่านี้นานแล้ว คาดว่าข้อมูลหลายอย่างคัดลอกจากรายงานฉบับเก่าๆ ใช่หรือไม่
    Q : ผู้สนับสนุนโครงการอ้างว่ากระเช้าจะช่วยขนขยะและของเสียจากยอดภูลงมาข้างล่าง แต่ในมาตรการจัดการขยะมูลฝอยบอกว่าให้ใช้พื้นที่ 30 ไร่บริเวณศูนย์บริการวังกวางซึ่งตั้งอยู่บนภูกระดึงเป็นสถานที่ฝังกลบ
    Q : ก่อนหน้านี้เคยเกิดหินผาถล่มช่วงฤดูฝนจนนักท่องเที่ยวเสียชีวิต ปี 2549 พบดินแยกบนทางเดินจากหน่วยพิทักษ์ป่าไปผาหล่มสัก เหตุใดข้อมูลสำคัญเหล่านั้นจึงไม่มีการเสนอในรายงาน
    Q : หน้าที่หลักของอุทยานแห่งชาติคืออนุรักษ์ธรรมชาติให้คงอยู่ในสภาพเดิมใช่หรือไม่ การใช้ประโยชน์พื้นที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวนั้นเป็นหน้าที่รองลงมา และไม่มีข้อใดระบุว่าเป็นไปเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ เมื่อสร้างกระเช้าด้วยเงินลงทุนมหาศาลนายทุนจะเว้นช่วงหยุดบริการกระเช้าเพื่อให้ธรรมชาติพักฟื้นหรือไม่

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น