“กระเช้าลอยฟ้า” ยานพาหนะน่าจับตาของปัจจุบันและอนาคต
18 min. Read | 29 มกราคม 2567 | 94
ตลอดชีวิตที่ผ่านมา คุณเคยขึ้น “กระเช้าลอยฟ้า” ทั้งหมดกี่ครั้ง
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ด้วยสภาพภูมิประเทศของบ้านเราที่ความเจริญจะอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ “กระเช้าลอยฟ้า” ไม่ใช่ยานพาหนะที่เป็นที่คุ้นเคยของเราสักเท่าไรนัก และมีเพียงประสบการณ์ไม่กี่ครั้งจากการไปเที่ยวสวนสนุกที่มีกระเช้าลอยฟ้าเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกในการย้ายจากพื้นที่ความสนุกหนึ่งไปยังอีกพื้นที่ หรือบางคนอาจมีประสบการณ์จากการทำกิจกรรมแนวแอดเวนเจอร์ที่มีกระเช้าลอยฟ้าช่วยพาเดินทางข้ามผืนป่าได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบายกันมาบ้าง
แต่ข้ามออกไปในอีกซีกโลก ผู้คนนับแสนใช้กระเช้าลอยฟ้าเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของระบบขนส่งสาธารณะ ทั้งนั่งกระเช้ายามเช้าเพื่อออกไปโรงเรียน ไปทำงาน หรือไปทำธุระในเมือง ตกเย็นก็ตีตั๋วขึ้นกระเช้ากลับบ้านที่มักอยู่ติดกับสถานีรถไฟใกล้ที่ทำงาน เดินทางสัญจรในแบบที่มีกระเช้าลอยฟ้าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันนี้เป็นเส้นทางปกติที่คุ้นเคย ขณะที่ในอีกหลายซีกโลก กระเช้าลอยฟ้าก็ไม่ได้เป็นเพียงยานพาหนะที่แค่พาผู้คนให้เคลื่อนที่ไปยังจุดหมายบนยอดเขาอันสวยงาม แต่เส้นทางสายเคเบิลนี้ยังขับเคลื่อนเศรษฐกิจและชีวิตผู้คนไปพร้อม ๆ กัน
Jack Prommel / Unsplash
กระเช้าลอยฟ้าในเมเดยิน สายเคเบิลที่แล่นนำความเจริญ
กรณีศึกษาแรกเกี่ยวกับการใช้กระเช้าลอยฟ้า หรือเคเบิลคาร์ในชีวิตประจำวันก็คือที่เมืองเมเดยิน (Medellin) เมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศโคลอมเบีย โดยในช่วงยุค 90 ปลาย ๆ ถึงเริ่มต้นปี 2000 เมืองเมเดยินเป็นเมืองที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น “หนึ่งในสถานที่ที่มีความรุนแรงและอันตรายมากที่สุด” เพราะเป็นศูนย์กลางอาชญากรรมและยาเสพติดระดับโลก เมืองประสบปัญหาด้านความยากจน และการกีดกันทางสังคม เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่เป็นภูเขา ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชุมชนไหล่เขา ไม่สามารถเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะของเมืองได้
ในปี 2004 จึงถือกำเนิด “เมโทรเคเบิล” (Metrocable) หรือกระเช้าลอยฟ้าที่มีจุดหมายหลักเพื่อการปรับปรุงคุณภาพชีวิตและไม่ต้องการให้เกิดการแบ่งแยกทางสังคม ผ่านโครงสร้างพื้นฐานอย่างรถสารธารณะ รถกระเช้านี้จึงถูกพัฒนาโดยเชื่อมเข้ากับชุมชนบริเวณภูเขา และมีปลายทางออกไปยังตัวเมือง ทางเท้าสาธารณะ และรถไฟใต้ดิน เพื่อพาผู้คนที่อาศัยอยู่ด้านบนที่สูงกว่า 1 กิโลเมตรจากระดับน้ำทะเล ได้ลงมาใช้ชีวิตที่ใจกลางเมืองโดยไม่มีอุปสรรคอย่างเรื่องความห่างไกลและการเดินทางที่ไม่อำนวย
เมโทรเคเบิลสายแรกของเมืองเมเดยิน คือ “สาย K” มีต้นทางอยู่ที่ Acevedo และปลายทางอยู่ที่สถานี Santo Domingo เชื่อมโยงเมืองทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเข้าไปสู่ใจกลางเมืองโดยผ่าน 12 ชุมชน ให้บริการประชาชนไปมากกว่า 230,000 คน (ตัวเลขปี 2016) ซึ่งต่อมาในปี 2008 เมืองได้เปิดอีกเส้นทางเดินรถอย่าง “สาย J” เพื่อรองรับผู้ใช้บริการจำนวนมากจากสาย K โดยสาย J เดินรถจากสถานี La Aurora ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของเมือง ไปยังตัวเมืองที่สามารถเดินทางเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินได้เช่นกัน โดยตั้งแต่เปิดให้บริการจนถึงปี 2016 เส้นทางสายเคเบิลนี้มีผู้ใช้บริการแล้วกว่า 315,000 คน จาก 37 เขตทั่วเมือง
จาก 2 ชั่วโมง เป็น 1 ชั่วโมง จาก 1 ชั่วโมง เหลือเพียงครึ่งชั่วโมง กระเช้าลอยฟ้ากลายเป็นหนึ่งในขนส่งหลักที่ช่วยให้ชาวเมเดยินประหยัดเวลาในการเดินทางไปได้กว่าครึ่ง และยังประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยค่าโดยสารเพียงรอบละประมาณ 3,000 เปโซ หรือ 30 บาท (ยกเว้นสาย L ที่เป็นเส้นทางพิเศษ)
จุดแข็งของเมโทรเคเบิลในเมเดยินที่ทำให้เมืองไหน ๆ ต่างก็อยากใช้เป็นโมเดลในการปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะโดยเฉพาะกระเช้าลอยฟ้าก็คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ และการเข้ามาใช้บริการขนส่งเป็นหลักแสนคน จนระบบเดินรถเคเบิลคาร์นี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากทั้งภูมิภาค สร้างแรงบันดาลใจให้กับเมืองอื่น ๆ ในแถบละตินอเมริกาที่มีภูมิประเทศ สภาพเศรษฐกิจและสังคมคล้ายคลึงกัน ให้เข้ามาเริ่มศึกษาเรื่องกระเช้าลอยฟ้าเพื่อการคมนาคมทางเลือกที่สะดวกและปลอดภัย เช่น เมืองลาปาซ-เอลอัลโต โบลิเวีย เมืองการากัส เวเนซุเอลา เมืองรีโอเดจาเนโร บราซิล รวมถึงเมืองมานิซาเลส อีกเมืองในโคลอมเบียที่อยู่สูงกว่า 2,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ที่ก็ได้ริเริ่มสร้างเคเบิลคาร์เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทาง และเชื่อมต่อชุมชนรอบนอกเข้ากับใจกลางเมืองด้วยในเวลาต่อมา
https://www.gondolaproject.com/tag/medellin/page/4/
เส้นทางสายเคเบิล สู่ประสบการณ์ใหม่ในต่างแดน
วิวทิวทัศน์ 360 องศาเหนือเมืองนองปิงและเกาะลันเตา รายล้อมด้วยกระเช้าลอยฟ้าขนาดไม่เกิน 10 ที่นั่งที่กำลังเคลื่อนที่ไปตามสายเคเบิลความยาวประมาณ 5 กิโลเมตรกว่า ๆ “นองปิง 360” คืออีกรูปแบบของการนำกระเช้าลอยฟ้าหรือเคเบิลคาร์มาเป็นจุดเช็กอินของนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยือนเกาะฮ่องกง เส้นทาง 5.7 กิโลเมตรของที่นี่ได้รับการออกแบบสายเคเบิลแบบสองทิศทางด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย และเป็นที่แรกในฮ่องกง ทั้งยังเป็นเคเบิลคาร์สายคู่ที่ยาวที่สุดในเอเชีย
จุดหมายปลายทางของเคเบิลคาร์สายนี้คือการดื่มด่ำศิลปะพื้นเมืองในหมู่บ้านนองปิง และการแวะสักการะพระพุทธรูปในวัดโป่หลิน ที่นักท่องเที่ยวต้องออกแรงเดินขึ้นบันไดไปอีกราว 200 ขั้น เพื่อไปขอพรกับพระพุทธรูปปางสำริดปางนั่งองค์ใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งหมดนี้กลายเป็นแพ็กเกจวันเดย์ทริปที่ใครแวะไปที่ฮ่องกงจะต้องห้ามพลาด นั่นทำให้ในปี 2561 และ 2562 กระเช้านองปิงมีผู้มาเยี่ยมชมมากถึงปีละ 1.8 และ 1.4 ล้านคน ไม่เว้นแม้กระทั่งในปีแห่งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ยังมีนักท่องเที่ยวจากในท้องถิ่นไปเยี่ยมเยือนถึงกว่า 2 แสนคน หรือเฉลี่ยวันละ 1,271 คน
https://www.np360.com.hk/en/cable-car#cabin-2
ข้ามฝั่งไปคาบสมุทรเกาหลี หนึ่งในประเทศท่องเที่ยวสุดฮิตของคนไทย ที่นั่นมี “นัมซานเคเบิลคาร์” (Namsan Cable Car) เส้นทางกระเช้าลอยฟ้าสายเก่าแก่อายุกว่า 60 ปี คอยพาเหล่านักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศขึ้นไปดื่มด่ำกับความสวยงามของวิวจากบนยอดเขาและหอคอย “นัมซานทาวเวอร์” (N Seoul Tower) หอคอยสัญลักษณ์ของกรุงโซลที่มีความสูงจากภูเขานัมซานขึ้นไปอีก 236.7 เมตร หรือสูงถึง 479.7 เมตรจากระดับน้ำทะเล ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของการท่องเที่ยวในกรุงโซลที่ใช้สายเคเบิลและกระเช้าขนาดใหญ่ที่จุคนได้รอบละกว่า 50 คน มาเปลี่ยนยอดภูเขาแห่งนี้ให้กลายศูนย์กลางการท่องเที่ยวของกรุงโซลที่รองรับนักท่องเที่ยวได้เฉลี่ยปีละกว่า 8 ล้านคน
Hongsoek Kim / Unsplash
ยานพาหนะของ “วันพรุ่งนี้”
เราพูดถึงความสะดวกสบายและคุณภาพชีวิตที่มาพร้อมกับการถือกำเนิดของกระเช้าลอยฟ้า แต่ตลอดการมีอยู่ของยานพาหนะชนิดนี้ กระเช้าลอยฟ้ามี “ความยั่งยืน” เป็นหนึ่งในจุดแข็งมาตลอด โดยเมื่อเทียบปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในหน่วยกรัมต่อกิโลเมตรจะพบว่า รถยนต์ปล่อยคาร์บอนฯ มากที่สุดคือ 1.45 กรัม รองลงมาเป็นรถบัส 0.21 กรัม รถไฟใต้ดินและรถราง 0.02 กรัม และสุดท้ายคือกระเช้าลอยฟ้าที่ปล่อยคาร์บอนฯ เพียง 0.01 กรัมต่อการเดินทาง 1 กิโลเมตร
กรณีศึกษาเกี่ยวกับความยั่งยืนจากระบบเมโทรเคเบิลในเมืองเมเดยิน ประเทศโคลอมเบียที่กล่าวถึงไปก่อนหน้านี้ พบว่า ตลอดปี 2553 ถึง 2559 หรือประมาณ 7 ปี ที่ระบบเมโรเคเบิลมีอัตราการขนส่งผู้โดยสารอยู่ที่ 3,000 คน ต่อชั่วโมง ต่อเส้นทางเดินรถ 1 สาย จะสามารถช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปได้มากถึง 121,029 ตัน ทำให้นอกจากประเทศจะได้นำโมเดลการสร้างระบบขนส่งสาธารณะไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้คนแล้ว ยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกในการสร้างระบบขนส่งแบบ Zero-Carbon อีกด้วย
นอกจากจะช่วยลดมลพิษทางอากาศแล้ว อีกประเด็นที่เริ่มจะมีความสำคัญในยุคนี้ก็คือ “มลภาวะทางเสียง” เนื่องจากยานพาหนะแต่ละคันบนกระเช้าลอยฟ้าไม่จำเป็นต้องใช้มอเตอร์แยกกัน แต่จะมีระบบขับเคลื่อนกลางที่อยู่ในสถานี จึงทำให้แทบไม่มีเสียงรบกวนตลอดการเดินทางและเป็นมิตรต่อผู้โดยสารและผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง
กระเช้าลอยฟ้าจึงเป็นยานพาหนะที่สามารถเป็นส่วนหนึ่งของสังคมแห่งความยั่งยืน ซึ่งกำลังเป็นความใฝ่ฝันของหลาย ๆ ประเทศในโลก ขณะที่ “สังคมผู้สูงวัย” ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้กระเช้าลอยฟ้าเป็นยานพาหนะที่มีแนวโน้มว่าจะได้อยู่ในชีวิตประจำวันของเราในอีกไม่นาน จากกราฟอัตราส่วนของผู้สูงวัย (มากกว่า 65 ปี) ของประชากรโลก รวมถึงประเทศไทยที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี สวนทางกับอัตราการเกิดของประชากรที่ลดลงเรื่อย ๆ
เพราะท่ามกลางกระแสสังคมที่มีการรณรงค์และเปิดพื้นที่การมองเห็นให้กับสังคมผู้สูงวัยมากขึ้นทุกปี โลกของแบรนด์รอบ ๆ ตัวที่กำลังพุ่งเป้าไปที่ผู้บริโภคสูงวัยจนกลายเป็นเทรนด์ใหม่ในโลกธุรกิจ สังคมแห่งผู้สูงวัยที่กำลังจะเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันนี้ และดำเนินต่อไปในวันพรุ่งนี้ จะขาดปัจจัยในเชิงโครงสร้างอย่าง “ระบบขนส่งมวลชน” ที่เอื้อต่อการใช้ชีวิต และการไปไหนมาไหนของผู้คนกลุ่มนี้ไม่ได้เลย
ที่มา : บทความ “Metrocable: the Medellin’s cable car everyone should give a chance” โดย Jorge
ตอบลบ“กระเช้าลอยฟ้า” ยานพาหนะน่าจับตาของปัจจุบันและอนาคต
ตลอดชีวิตที่ผ่านมา คุณเคยขึ้น “กระเช้าลอยฟ้า” ทั้งหมดกี่ครั้ง
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ด้วยสภาพภูมิประเทศของบ้านเราที่ความเจริญจะอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ “กระเช้าลอยฟ้า” ไม่ใช่ยานพาหนะที่เป็นที่คุ้นเคยของเราสักเท่าไรนัก และมีเพียงประสบการณ์ไม่กี่ครั้งจากการไปเที่ยวสวนสนุกที่มีกระเช้าลอยฟ้าเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกในการย้ายจากพื้นที่ความสนุกหนึ่งไปยังอีกพื้นที่ หรือบางคนอาจมีประสบการณ์จากการทำกิจกรรมแนวแอดเวนเจอร์ที่มีกระเช้าลอยฟ้าช่วยพาเดิน
แต่ข้ามออกไปในอีกซีกโลก ผู้คนนับแสนใช้กระเช้าลอยฟ้าเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของระบบขนส่งสาธารณะ ทั้งนั่งกระเช้ายามเช้าเพื่อออกไปโรงเรียน ไปทำงาน หรือไปทำธุระในเมือง ตกเย็นก็ตีตั๋วขึ้นกระเช้ากลับบ้านที่มักอยู่ติดกับสถานีรถไฟใกล้ที่ทำงาน เดินทางสัญจรในแบบที่มีกระเช้าลอยฟ้าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันนี้เป็นเส้นทางปกติที่คุ้นเคย ขณะที่ในอีกหลายซีกโลก กระเช้าลอยฟ้าก็ไม่ได้เป็นเพียงยานพาหนะที่แค่พาผู้คนให้เคลื่อนที่ไปยังจุดหมายบนยอดเขาอันสวยงาม แต่เส้นทางสายเคเบิลนี้ยังขับเคลื่อนเศรษฐกิจและชีวิตผู้คนไปพร้อม ๆ กัน
กระเช้าลอยฟ้าในเมเดยิน สายเคเบิลที่แล่นนำความเจริญ
กรณีศึกษาแรกเกี่ยวกับการใช้กระเช้าลอยฟ้า หรือเคเบิลคาร์ในชีวิตประจำวันก็คือที่เมืองเมเดยิน (Medellin) เมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศโคลอมเบีย โดยในช่วงยุค 90 ปลาย ๆ ถึงเริ่มต้นปี 2000 เมืองเมเดยินเป็นเมืองที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น “หนึ่งในสถานที่ที่มีความรุนแรงและอันตรายมากที่สุด” เพราะเป็นศูนย์กลางอาชญากรรมและยาเสพติดระดับโลก เมืองประสบปัญหาด้านความยากจน และการกีดกันทางสังคม เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่เป็นภูเขา ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชุมชนไหล่เขา ไม่สามารถเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะของเมืองได้
ในปี 2004 จึงถือกำเนิด “เมโทรเคเบิล” (Metrocable) หรือกระเช้าลอยฟ้าที่มีจุดหมายหลักเพื่อการปรับปรุงคุณภาพชีวิตและไม่ต้องการให้เกิดการแบ่งแยกทางสังคม ผ่านโครงสร้างพื้นฐานอย่างรถสารธารณะ รถกระเช้านี้จึงถูกพัฒนาโดยเชื่อมเข้ากับชุมชนบริเวณภูเขา และมีปลายทางออกไปยังตัวเมือง ทางเท้าสาธารณะ และรถไฟใต้ดิน เพื่อพาผู้คนที่อาศัยอยู่ด้านบนที่สูงกว่า 1 กิโลเมตรจากระดับน้ำทะเล ได้ลงมาใช้ชีวิตที่ใจกลางเมืองโดยไม่มีอุปสรรคอย่างเรื่องความห่างไกลและการเดินทางที่ไม่อำนวย
เมโทรเคเบิลสายแรกของเมืองเมเดยิน คือ “สาย K” มีต้นทางอยู่ที่ Acevedo และปลายทางอยู่ที่สถานี Santo Domingo เชื่อมโยงเมืองทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเข้าไปสู่ใจกลางเมืองโดยผ่าน 12 ชุมชน ให้บริการประชาชนไปมากกว่า 230,000 คน (ตัวเลขปี 2016) ซึ่งต่อมาในปี 2008 เมืองได้เปิดอีกเส้นทางเดินรถอย่าง “สาย J” เพื่อรองรับผู้ใช้บริการจำนวนมากจากสาย K โดยสาย J เดินรถจากสถานี La Aurora ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของเมือง ไปยังตัวเมืองที่สามารถเดินทางเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินได้เช่นกัน โดยตั้งแต่เปิดให้บริการจนถึงปี 2016 เส้นทางสายเคเบิลนี้มีผู้ใช้บริการแล้วกว่า 315,000 คน จาก 37 เขตทั่วเมือง
จาก 2 ชั่วโมง เป็น 1 ชั่วโมง จาก 1 ชั่วโมง เหลือเพียงครึ่งชั่วโมง กระเช้าลอยฟ้ากลายเป็นหนึ่งในขนส่งหลักที่ช่วยให้ชาวเมเดยินประหยัดเวลาในการเดินทางไปได้กว่าครึ่ง และยังประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยค่าโดยสารเพียงรอบละประมาณ 3,000 เปโซ หรือ 30 บาท (ยกเว้นสาย L ที่เป็นเส้นทางพิเศษ)
จุดแข็งของเมโทรเคเบิลในเมเดยินที่ทำให้เมืองไหน ๆ ต่างก็อยากใช้เป็นโมเดลในการปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะโดยเฉพาะกระเช้าลอยฟ้าก็คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ และการเข้ามาใช้บริการขนส่งเป็นหลักแสนคน จนระบบเดินรถเคเบิลคาร์นี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากทั้งภูมิภาค สร้างแรงบันดาลใจให้กับเมืองอื่น ๆ ในแถบละตินอเมริกาที่มีภูมิประเทศ สภาพเศรษฐกิจและสังคมคล้ายคลึงกัน ให้เข้ามาเริ่มศึกษาเรื่องกระเช้าลอยฟ้าเพื่อการคมนาคมทางเลือกที่สะดวกและปลอดภัย เช่น เมืองลาปาซ-เอลอัลโต โบลิเวีย เมืองการากัส เวเนซุเอลา เมืองรีโอเดจาเนโร บราซิล รวมถึงเมืองมานิซาเลส อีกเมืองในโคลอมเบียที่อยู่สูงกว่า 2,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ที่ก็ได้ริเริ่มสร้างเคเบิลคาร์เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทาง และเชื่อมต่อชุมชนรอบนอกเข้ากับใจกลางเมืองด้วยในเวลาต่อมา
เส้นทางสายเคเบิล สู่ประสบการณ์ใหม่ในต่างแดน
ตอบลบhttps://www.gondolaproject.com/tag/medellin/page/4/
เส้นทางสายเคเบิล สู่ประสบการณ์ใหม่ในต่างแดน
วิวทิวทัศน์ 360 องศาเหนือเมืองนองปิงและเกาะลันเตา รายล้อมด้วยกระเช้าลอยฟ้าขนาดไม่เกิน 10 ที่นั่งที่กำลังเคลื่อนที่ไปตามสายเคเบิลความยาวประมาณ 5 กิโลเมตรกว่า ๆ “นองปิง 360” คืออีกรูปแบบของการนำกระเช้าลอยฟ้าหรือเคเบิลคาร์มาเป็นจุดเช็กอินของนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยือนเกาะฮ่องกง เส้นทาง 5.7 กิโลเมตรของที่นี่ได้รับการออกแบบสายเคเบิลแบบสองทิศทางด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย และเป็นที่แรกในฮ่องกง ทั้งยังเป็นเคเบิลคาร์สายคู่ที่ยาวที่สุดในเอเชีย
จุดหมายปลายทางของเคเบิลคาร์สายนี้คือการดื่มด่ำศิลปะพื้นเมืองในหมู่บ้านนองปิง และการแวะสักการะพระพุทธรูปในวัดโป่หลิน ที่นักท่องเที่ยวต้องออกแรงเดินขึ้นบันไดไปอีกราว 200 ขั้น เพื่อไปขอพรกับพระพุทธรูปปางสำริดปางนั่งองค์ใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งหมดนี้กลายเป็นแพ็กเกจวันเดย์ทริปที่ใครแวะไปที่ฮ่องกงจะต้องห้ามพลาด นั่นทำให้ในปี 2561 และ 2562 กระเช้านองปิงมีผู้มาเยี่ยมชมมากถึงปีละ 1.8 และ 1.4 ล้านคน ไม่เว้นแม้กระทั่งในปีแห่งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ยังมีนักท่องเที่ยวจากในท้องถิ่นไปเยี่ยมเยือนถึงกว่า 2 แสนคน หรือเฉลี่ยวันละ 1,271 คน
https://www.np360.com.hk/en/cable-car#cabin-2
ข้ามฝั่งไปคาบสมุทรเกาหลี หนึ่งในประเทศท่องเที่ยวสุดฮิตของคนไทย ที่นั่นมี “นัมซานเคเบิลคาร์” (Namsan Cable Car) เส้นทางกระเช้าลอยฟ้าสายเก่าแก่อายุกว่า 60 ปี คอยพาเหล่านักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศขึ้นไปดื่มด่ำกับความสวยงามของวิวจากบนยอดเขาและหอคอย “นัมซานทาวเวอร์” (N Seoul Tower) หอคอยสัญลักษณ์ของกรุงโซลที่มีความสูงจากภูเขานัมซานขึ้นไปอีก 236.7 เมตร หรือสูงถึง 479.7 เมตรจากระดับน้ำทะเล ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของการท่องเที่ยวในกรุงโซลที่ใช้สายเคเบิลและกระเช้าขนาดใหญ่ที่จุคนได้รอบละกว่า 50 คน มาเปลี่ยนยอดภูเขาแห่งนี้ให้กลายศูนย์กลางการท่องเที่ยวของกรุงโซลที่รองรับนักท่องเที่ยวได้เฉลี่ยปีละกว่า 8 ล้านคน
Hongsoek Kim / Unsplash
ยานพาหนะของ “วันพรุ่งนี้”
เราพูดถึงความสะดวกสบายและคุณภาพชีวิตที่มาพร้อมกับการถือกำเนิดของกระเช้าลอยฟ้า แต่ตลอดการมีอยู่ของยานพาหนะชนิดนี้ กระเช้าลอยฟ้ามี “ความยั่งยืน” เป็นหนึ่งในจุดแข็งมาตลอด โดยเมื่อเทียบปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในหน่วยกรัมต่อกิโลเมตรจะพบว่า รถยนต์ปล่อยคาร์บอนฯ มากที่สุดคือ 1.45 กรัม รองลงมาเป็นรถบัส 0.21 กรัม รถไฟใต้ดินและรถราง 0.02 กรัม และสุดท้ายคือกระเช้าลอยฟ้าที่ปล่อยคาร์บอนฯ เพียง 0.01 กรัมต่อการเดินทาง 1 กิโลเมตร
กรณีศึกษาเกี่ยวกับความยั่งยืนจากระบบเมโทรเคเบิลในเมืองเมเดยิน ประเทศโคลอมเบียที่กล่าวถึงไปก่อนหน้านี้ พบว่า ตลอดปี 2553 ถึง 2559 หรือประมาณ 7 ปี ที่ระบบเมโรเคเบิลมีอัตราการขนส่งผู้โดยสารอยู่ที่ 3,000 คน ต่อชั่วโมง ต่อเส้นทางเดินรถ 1 สาย จะสามารถช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปได้มากถึง 121,029 ตัน ทำให้นอกจากประเทศจะได้นำโมเดลการสร้างระบบขนส่งสาธารณะไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้คนแล้ว ยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกในการสร้างระบบขนส่งแบบ Zero-Carbon อีกด้วย
นอกจากจะช่วยลดมลพิษทางอากาศแล้ว อีกประเด็นที่เริ่มจะมีความสำคัญในยุคนี้ก็คือ “มลภาวะทางเสียง” เนื่องจากยานพาหนะแต่ละคันบนกระเช้าลอยฟ้าไม่จำเป็นต้องใช้มอเตอร์แยกกัน แต่จะมีระบบขับเคลื่อนกลางที่อยู่ในสถานี จึงทำให้แทบไม่มีเสียงรบกวนตลอดการเดินทางและเป็นมิตรต่อผู้โดยสารและผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง
กระเช้าลอยฟ้าจึงเป็นยานพาหนะที่สามารถเป็นส่วนหนึ่งของสังคมแห่งความยั่งยืน ซึ่งกำลังเป็นความใฝ่ฝันของหลาย ๆ ประเทศในโลก ขณะที่ “สังคมผู้สูงวัย” ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้กระเช้าลอยฟ้าเป็นยานพาหนะที่มีแนวโน้มว่าจะได้อยู่ในชีวิตประจำวันของเราในอีกไม่นาน จากกราฟอัตราส่วนของผู้สูงวัย (มากกว่า 65 ปี) ของประชากรโลก รวมถึงประเทศไทยที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี สวนทางกับอัตราการเกิดของประชากรที่ลดลงเรื่อย ๆ
เพราะท่ามกลางกระแสสังคมที่มีการรณรงค์และเปิดพื้นที่การมองเห็นให้กับสังคมผู้สูงวัยมากขึ้นทุกปี โลกของแบรนด์รอบ ๆ ตัวที่กำลังพุ่งเป้าไปที่ผู้บริโภคสูงวัยจนกลายเป็นเทรนด์ใหม่ในโลกธุรกิจ สังคมแห่งผู้สูงวัยที่กำลังจะเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันนี้ และดำเนินต่อไปในวันพรุ่งนี้ จะขาดปัจจัยในเชิงโครงสร้างอย่าง “ระบบขนส่งมวลชน” ที่เอื้อต่อการใช้ชีวิต และการไปไหนมาไหนของผู้คนกลุ่มนี้ไม่ได้เลย
ที่มา : บทความ “Metrocable: the Medellin’s cable car everyone should give a chance” โดย Jorge